กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยาลีละ ตาเละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบันสภาพของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงไป การประกอบอาชีพได้เปลี่ยนจากการเกษตรหันไปทำงานโรงงานหรือบริษัทในตัวเมือง ต่างจังหวัด ต่างประเทศใกล้เคียงอย่างมาเลเซียเป็นจำนวนมาก ทำให้การเลี้ยงดูเด็กเล็กต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ถึงแม้ว่าเด็กที่มีอายุ 0-72 เดือน เป็นกลุ่มที่ความเจริญเติบโตสูงมากทั้งด้านร่างกายตลอดทั้งจิตใจ มีพัฒนาการที่สูงกว่าในวัยอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจริญเติบโตของสมอง จากการที่แม่ที่คลอดแล้วส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้ดูแลเด็กเอง แต่จะให้ตากับยายดูแลเลี้ยงดูแทนส่วนมารดาจะไปทำงานโรงงานในตัวเมือง ต่างจังหวัด หรือต่างประเทศใกล้เคียงอย่างมาเลเซีย ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เด็กได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กล่าช้าได้ ในการดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน ทางชมรมขาดเครื่องมือในการชั่งและวัดที่ได้มาตรฐาน เพื่อความภูกต้องและแม่นยำ ข้อมูลภาวะโภชนาการเด็ก 0-72 เดือน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง  งวดที่ 1 ปี 2563 พบเด็กได้รับการชั่งน้ำหนักจำนวน 672 ร้อยละ 90.57  น้ำหนักมากและค่อนข้างมากกว่าเกณฑ์อยู่ที่ร้อยละ 1.48  น้ำหนักน้อยและค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์อยู่ที่ร้อยละ 11.99 ส่วนสูงเตี้ยและค่อนข้างเตี้ยกว่าเกณฑ์ รวมกันร้อยละ 13.48  รูปร่างอ้วนและเริ่มอ้วน ร้อยละ 2.29    รูปร่างผอมและค่อนข้างผอม ร้อยละ 7.82 ในส่วนของเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการต้องได้รับการช่วยเหลือ ส่งต่อ และดำเนินการแก้ปัญหาทางโภชนาการอย่างต่อเนื่อง
    เพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหาดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน เพื่อติดตามและเฝ้าระวัง ประเมินความเจริญเติบโต ของกลุ่มเป้าหมาย มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ และมีพัฒนาการสมวัย ตลอดจนสามารถหาแนวทางในการแก้ไข ปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 .เพื่อให้กลุ่มเด็กอายุ 0-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังทางโภชนาการและพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขมีความสนใจปัญหาการขาดสารอาหารในชุมชนของตนเอง

 

0.00
3 3.เพื่อป้องกันปัญหาเด็กขาดสารอาหาร

 

0.00
4 4.เพื่อให้ผู้ปกครอง ชุมชน ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเด็กขาดสารอาหาร

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,000.00 0 0.00
25 ม.ค. 64 กิจกรรมที่ 1 จัดสาธิตอาหารและให้ความรู้แก่ประชาชน ผู้ปกครอง 0 4,000.00 -
25 ม.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 บริการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินภาวะโภชนาการ 0 28,000.00 -

1 ขออนุมัติโครงการ
2.จัดหน่วยบริการคลินิกอาสาสมัครเคลื่อนที่เฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเริมพัฒนาการเด็ก/ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ทีมอาสาสมัคร
3.จัดทำแผนการปฎิบัติงาน
4.จัดทำฐานข้อมูลเด็ก 0-72 เดือน
5.จัดสาธิตอาหารและให้ความรู้แก่ประชาชน ผู้ปกครองโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย
6.บริการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินภาวะโภชนาการให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองให้ สามารถแปรผลภาวะการเจริญเติบโตได้
7.สรุปผลการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
8.ประชุมร่วมกับเทศบาลและผู้ปกครองของเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปํญหาภาวะโภชนาการ
9. ดำเนินการแก้ไขปัญหาในเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ และติดตามภาวะทุพโภชนาการทุกเดือน
10.สรุปผลการดำเนินงาน/โครงการ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เด็กอายุ 0-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังทางโภชนาการอย่างต่อเนื่อง
2 เพื่อป้องกันปัญหาเด็กขาดสารอาหาร
3.เพื่อให้ผู้ปกครอง ชุมชน ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเด็กขาดสารอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2563 15:12 น.