กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ ตำบลแม่ดงห่างไกลโรคติดต่ออย่างยั่งยืน งบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L2520-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่ดง
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอมรี มะดาโอะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลรอฮิม มะดาโอ๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ดง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.892,101.82place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและโรคติดต่อจากสาเหตุอื่น ๆ นั้น นับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศ และจากภาวะโลกร้อน อากาศแปรปรวน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคไขเลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดต่ออื่น ๆ  โรคไข้เลือดออกถือได้ว่าเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยโรคและเป็นปัญหาเรื้อรังในชุมชน ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และด้านสังคมที่เกิดจาก การขาดความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมไข้เลือดออกจากภาคสังคมอื่นๆและชีวะนิสัยของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคของโรค ไข้เลือดออก รวมถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ก่อให้เกิดการระบาดของโรค โดยพบว่ายุงลายมีการวางไข่และขยายพันธ์ได้ตลอดทั้งปีซึ่งยุงลายตัวเมียผสมพันธ์เพียงครั้งเดียว สามารถวางไข่ได้ครั้งละมากๆตลอดชีวิตและเชื้อโรคไข้เลือดออกสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากแม่ยุงลายสู่ไข่และลูกยุงลายได้ รวมถึงการติดต่อจากคนสู่คนโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค หากไม่มีการควบคุมป้องกันโรคที่ดีก็จะทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นและจะแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในสถานบริการ รพ.สต. ในตำบลแม่ดง ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๕๘ – 25๖๒ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นทุกๆปี โดยปี 25๖๒ มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๒๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๓๐๖.๙๘ ต่อแสนประชากร  ซึ่งเกินมัธยฐานที่กำหนดไว้ โรงพยาบาลล่งเสริมสุขภาพบ้านแม่ดง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ตำบลแม่ดงห่างไกลโรคติดต่ออย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ จัดให้มีการรณรงค์ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง  พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สร้างความร่วมมือในชุมชนและภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชุมชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมป้องกันไข้เลือดออก

100.00
2 เพื่อรวมพลังสร้างสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชนในชุมชน

ป้องกันอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในชุมชน

100.00
3 เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ชุมชนมีกิจกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 130 25,200.00 2 25,200.00 0.00
9 - 8 ส.ค. 63 อบรมกิจกรรม การจัดอบรมให้ความรู้ 65 15,800.00 15,800.00 0.00
10 ส.ค. 63 กิจกรรมรณรงค์ 65 9,400.00 9,400.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 130 25,200.00 2 25,200.00 0.00

1 แต่งตั้งคณะทำงานและจัดทำแผนปฏิบัติการ พร้อมการระดมความคิดบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อสอบถามความคิดเห็นและการประเมินสถานการณ์โรคติดต่อในตำบลแม่ดง   2. การสรุปแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ   3. การเขียนโครงการเพื่อการอนุมัติ   4. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและประสานกับหน่วยงาน ชุมชนทุกระดับ   5. จัดเตรียมพื้นที่ วัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ   6. ดำเนินตามกิจกรรมของโครงการ คือ
    ๖.๑ กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน       ๑. ประสานงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อบต. ผู้นำชุมชน อสม.และประชาชนในชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงาน       ๒.จัดหาทรายอะเบทและน้ำยาสารเคมีกำจัดยุงลาย กำลังคนและอุปกรณ์ต่างๆเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน       ๓.ประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์พร้อมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยใช้เสียงตามสายในหมู่บ้าน       ๔.พ่นสารเคมีกำจัดตัวแก่ยุงลาย ในช่วงฤดูกาลระบาด จำนวนทั้ง ๓ ชุมชน       ๕.อสม.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเดือนละ 1 ครั้ง

    ๖.๒ กิจกรรมควบคุมโรคในโรงเรียนและศาสนสถาน       ๑.ประสานงาน หน่วยงานกับคณะครู นักเรียน อสม. เพื่อวางแผนการดำเนินงาน       ๒.ประชาสัมพันธ์การรณรงค์พร้อมให้ความรู้แก่นักเรียน โดยใช้ระบบเสียงตามสายในโรงเรียน และประสานให้ได้รับทราบ       ๓.รณรงค์พ่นสารเคมีกำจัดตัวแก่ยุงลาย ในช่วงก่อนเปิดภาคเรียน ในโรงเรียน มัสยิด วัด       ๔.อสม. นักเรียน และผู้นำศาสนา สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทุกสัปดาห์ พร้อมใส่ทรายอะเบท ในภาชนะกักเก็บ
    ๖.๓ กิจกรรมควบคุมโรคกรณีระบาด       ๑.ประชาสัมพันธ์โครงการให้กับกลุ่มเป้าหมาย พร้อมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่
      ๒.จัดทำแผนงานโครงการ       ๓.ดำเนินการตามโครงการ         - รายงานกองทุนฯเมื่อมีผู้ป่วยระบาดในเขตพื้นที่ - ประสานข้อมูลกับศูนย์ระบาดวิทยาระดับอำเภอ และการออกสวบสวนโรค เพื่อยืนยันข้อมูล และค้นหาแหล่งรังโรค - พ่นละอองเคมีตามมาตรการ 0,3,7,14 (ผู้ป่วย 1 ราย พ่น 4 ครั้ง) และใส่ทรายอะเบทในภาชนะ กักเก็บน้ำทุกครัวเรือน
- อสม. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อให้หมู่บ้านที่เกิดการระบาดมีค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย เท่ากับ ศูนย์ ( HI=0) 7. การประเมินผลการดำเนินกิจกรรม       7.1 ระหว่างดำเนินงานโครงการ       7.2 หลังการดำเนินงานโครงการ 8. การสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
๒.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก ๓.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ๔.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2563 15:44 น.