กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรคอุจจาระร่วง ตำบลแม่ดง ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L2520-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่ดง
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอมรี มะดาโอะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลรอฮิม มะดาโอ๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ดง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.892,101.82place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและโรคติดต่อจากสาเหตุอื่นๆนั้นนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศ และจากภาวะโรคร้อน อากาศแปรปรวน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคติดต่ออื่น ๆ โรคอจุจาระร่วงถือได้ว่าเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทย แม้จะเป็นโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้โดยง่าย แต่กลับพบอุบัติการณ์ในการ เกิดโรคยังสูงอยู่มาก แม้ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ และสาธารณสุขจะมีการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคอจุจาระร่วงแล้วก็ตาม โรคอจุจาระร่วงกลับยังคงเป็นโรคติดต่อที่มีอัตราการป่วยสูงขึ้นเรื่อยๆ       จากการรายงานผู้มารับบริการในสถานบริการ ในตำบลแม่ดง ปี ๒๕๖๒ พบว่าโรคอุจจาระร่วง มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นทุกๆปี โดยปี ๒๕๖๒ พบผู้ป่วยโรคอุจาระร่วง จำนวน ๑๕๐ ราย  คิดเป็นอัตราป่วย ๒,๓๐๒.๓๘ ต่อแสนประชากร (ที่มา : www.naradusis.info) ซึ่งเกินค่ามัฐยฐานที่กำหนดไว้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่ดง จึงได้จัดทำโครงการ ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรคอุจจาระร่วง แก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันโรคและมีพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค และเพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อม ครบถ้วนของการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง

อัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงลดลง

85.00
2 เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วง

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องแลละควบคุมโรคอุจจาระร่วง

100.00
3 เพื่อให้ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงสู่ชุมชนในพื้นที่

ชุมชนมีกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงอย่างถูกต้อง

95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงสู่ชุมชนในพื้นที่

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

8 ส.ค. 63 จัดการอบรมให้ความรู้ 150.00 20,800.00 -
12 ส.ค. 63 รณรงค์และตรวจสารปนเปื้อนในภาชนะบรรจุอาหารและคนปรุงอาหารในร้านของชำในเขตพื้นที่แม่ดง 150.00 3,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑. แต่งตั้งคณะทำงานและจัดทำแผนปฏิบัติการ พร้อมการระดมความคิดบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อ
สอบถามความคิดเห็นและการประเมินสถานการณ์โรคติดต่อในตำบลแม่ดง ๒. การสรุปแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ๓. การเขียนโครงการเพื่อการอนุมัติ ๔. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและประสานกับหน่วยงาน ชุมชนทุกระดับที่เกี่ยวข้อง ๕. จัดเตรียมพื้นที่ วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินโครงการฯ ๖ ดำเนินตามกิจกรรมของโครงการ คือ       ๖.๑ จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขแก่ผู้ประกอบการร้านชำ/ร้านขายก๋วยเตี๋ยว ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา อสม. ครู นักเรียน และตัวแทนผู้ปกครอง/ประชาชน       - สถานการณ์โรคติดต่อที่กำลังระบาด และการแพร่กระจายของโรค - อาการและวิธีการป้องกันโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุข
      - การล้างมือทั้งของมารดาและเด็ก การเตรียมอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาล
- จัดบอร์ดเรื่องโรคติดต่อที่กำลังระบาดที่เป็นปัญหาสาธารณสุข - ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านในพื้นที่เรื่องการจำหน่ายอาหารที่ถูกสุขลักษณะไม่โรคติดต่อที่กำลังระบาดที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ๖.๒ การผลิตสื่อต่างๆ และการประชาสัมพันธ์การให้ความรู้เรื่องโรค การควบคุมป้องกันโรคอย่างหลากหลาย           - ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่นแผ่นพับ/ใบความรู้เรื่องโรคติดต่อต่างๆ ๖.๓ การจัดซื้อ จัดหาวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ต่างๆตามสภาพปัญหาและความต้องการใช้ทรัพยากรของพื้นที่เป้าหมาย     ๗. การประเมินผลการดำเนินกิจกรรม                 ๗.๑ ระหว่างดำเนินงานโครงการ                 ๗.๒ หลังการดำเนินงานโครงการ     ๘. การสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลแม่ดง 2.  เพื่อประชาสัมพันธ์และรณรงค์การล้างมือเพื่อป้องกันโรคอุจจาระร่วงหรือโรคอื่นๆ ที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล 3.  เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมี ประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2563 15:52 น.