โครงการ เด็กสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย ช่วงอายุ 0-6 ปี ปีงบประมาณ 2563
ชื่อโครงการ | โครงการ เด็กสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย ช่วงอายุ 0-6 ปี ปีงบประมาณ 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L2520-1-5 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่ดง |
วันที่อนุมัติ | 13 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 22,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอมรี มะดาโอะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอับดุลรอฮิม มะดาโอ๊ะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแม่ดง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.892,101.82place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 153 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๖ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย การสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ๐ – ๖ ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก ๐ – ๖ ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่ดง ปี 2562 พบเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ ๒๕.๗๔ เป็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็กเด็ก ๐ – ๖ ปี กว่าร้อยละ ๗๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่ดง ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการเด็กสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย ช่วงอายุ 0 - ๖ ปี ปีงบประมาณ 2563 โดยบูรณาการร่วมกับชุมชนด้วยการพัฒนาเครื่องมือให้อาสาสมัครสาธารณสุขช่วยเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุเพื่อช่วยค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติด้านต่างๆ เร็วขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กอายุ ๙ เดือน – ๖ ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย เด็กอายุ ๙ เดือน – ๖ ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย ร้อยละ ๙๐ |
90.00 | |
2 | เพื่อให้เด็กอายุ ๙ เดือน – ๖ ปี ที่มีพัฒนาการที่ล่าช้าได้รับการกระตุ้น พบปัญหาได้รับการส่งต่อรักษา เด็กอายุ ๙ เดือน – ๖ ปี ที่มีพัฒนาการที่ล่าช้าได้รับการกระตุ้น พบปัญหาได้รับการส่งต่อรักษา |
95.00 | |
3 | เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็ก อาสาสมัคร ให้มีความรู้ความสามารถประเมินพัฒนาการเด็กได้ ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐ – ๖ ปี |
95.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 306 | 22,700.00 | 2 | 22,700.00 | 0.00 | |
9 ก.ย. 63 | อบรมกิจกรรม การจัดอบรมให้ความรู้ | 153 | 18,100.00 | ✔ | 18,100.00 | 0.00 | |
10 ก.ย. 63 | กิจกรรมสาธิตเมนูอาหาร | 153 | 4,600.00 | ✔ | 4,600.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 306 | 22,700.00 | 2 | 22,700.00 | 0.00 |
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย
1.๑ อบรมให้ความรู้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีความรู้ และทักษะในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
๑.2 อบรมให้ความรู้กลุ่มผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้ และทักษะในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจพัฒนาการเด็ก
๒.๑ จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมายโดยใช้ข้อมูลจากโปรแกรมข้อมูล jhcis ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและแจ้งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการตรวจพัฒนาการเด็ก ให้อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ดูแลศูนย์เด็กเล็กใช้ติดตามกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ 0 – ๖ ปี
๒.๒ ดำเนินการตรวจพัฒนาการเด็ก 0 – ๖ ปี
๒.๓ เด็กสงสัยพัฒนาการล่าช้า แนะนำผู้ปกครองกระตุ้นพัฒนาการซ้ำ 1 เดือน
๒.๔ ส่งต่อข้อมูลให้อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ดูแลศูนย์เด็กเล็กใช้ติดตามกระตุ้นพัฒนาการร่วมกับผู้ปกครองและติดตามกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ เด็ก0 – ๖ ปีซ้ำ 1 เดือน
๒.๕ ส่งต่อเด็กพัฒนาการล่าช้าหลังได้รับการกระตุ้นพัฒนาการร่วมกับผู้ปกครองและติดตามกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ เด็ก 0 – ๖ ปีซ้ำ 1 เดือน ที่พบพัฒนาการล่าช้า ไปโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อค้นหาปัญหา
๓. การประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
7.1 ระหว่างดำเนินงานโครงการ
7.2 หลังการดำเนินงานโครงการ
๔. การสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคผล
- เด็ก ๐ – ๖ ปีได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย คิดเป็นร้อยละ ๙๐
- เด็ก ๐ – ๖ ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมคิดเป็นร้อยละ ๘๕
- เด็ก ๐ – ๖ ปีที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
- ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริม
- เด็ก ๐ – ๖ ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมคิดเป็นร้อยละ ๘๕
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2563 16:01 น.