กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดยาเสพติด ชีวิตปลอดภัย หมดทุกข์ปลอดโรค
รหัสโครงการ 63-L5298-02-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนสวัสดิการมัสยิดดารุ้ลอิสลามียะห์
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 30,732.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาเหยด กรมเมือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกตรี อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.702,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขยาเสพติด เป็นแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม" โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย
          ผู้ที่ติดยาเสพติด อาจเกิดปัญหาทางสุขภาพ อนามัย หรือโรคต่างๆได้หลายอย่าง เช่น หากใช้ยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทกลาง เมื่อใช้เกินขนาดจะทำให้ไม่รู้สึกตัวไป การหายใจลดลง ในบางรายอาจเกิดการบวมของปอด ทำให้หายใจหอบและเสมหะเป็นฟอง หากเกิดจากการขาดยา ทำให้นอนหลับ อาจไข้สูง ชัก และไม่รู้สึกตัวได้ นอกจากนี้พิษจากยาเสพติด มีผลทำให้เกิดอาการทางจิตได้ บางรายอาจคลุ้มคลั่ง วิกลจริต ระแวงอย่างรุนแรง คิดว่าผู้อื่นจะมาทำร้ายจึงอาละวาด และทำร้ายผู้อื่นได้ ผู้ติดยาที่ใช้ยาฉีดเข้าหลอดเลือด หรือเข้ากล้ามเนื้อ มักไม่ได้ทำความสะอาดหลอดฉีดยาให้ปราศจากเชื้อเสียก่อน น้ำที่ใช้ละลายยาเพื่อฉีดก็ไม่สะอาด จึงอาจฉีดเอาเชื้อโรคต่างๆ เข้าไปในร่างกายได้ ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง และเนื้อเยื่อบริเวณที่ฉีด เกิดเป็นฝีหรือเนื้อตายได้ อาจลุกลามเกิดการอักเสบของหลอดเลือด หรือโลหิตเป็นพิษได้ ในบางรายเชื้อโรคอาจเข้าไปยังอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ปอด สมอง และกระดูก ทำให้เกิดลิ้นหัวใจอักเสบ และฝีตามอวัยวะต่างๆ บางรายใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ทำให้โรคจากคนหนึ่งติดไปยังคนอื่นๆได้ เช่น โรคตับอักเสบ โรคเอดส์ เป็นต้น ในบางกรณียาอาจจะละลายไม่ดี มีเกล็ดหรือ ผลึกของยาเข้าไปในหลอดเลือด ไปอุดหลอดเลือดต่างๆ เช่น ที่สมอง เกิดเป็นอัมพาตได้ ผู้ติดยาเสพติดมักมีสุขภาพไม่ดี อาหารไม่เพียงพอ และการดูแลสุขภาพอนามัย ตลอดจนการรักษาความสะอาดของร่างกายไม่ดี จึงมีโรคต่างๆเกิดได้มาก เช่น วัณโรคของปอด โรคผิวหนังต่างๆ โรคไตอักเสบ และโรคเส้นประสาทอักเสบ เป็นต้น สำหรับตำบล เกตรี มีผู้ติดยาเสพติดจำนวน 58 ราย (ข้อมูลจากสถานพินิจฯจังหวัดสตูล) พบผู้ป่วยทางจิตที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด จำนวน 3 ราย ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง ครอบครัว และชุมชน         ทางกองทุนสวัสดิการมัสยิดดารุลฯ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการลดยาเสพติด ชีวิตปลอดภัย หมดทุกข์ ปลอดโรคขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลเสียของยาเสพติดที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของยาเสพติดที่มีต่อสุขภาพ 2. เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบของยาเสพติดที่มีต่อสุขภาพ และห่างไกลยาเสพติด
  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของยาเสพติดที่มีต่อสุขภาพ
  2. ประชาชนมีสุขภาพดี ไม่มีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากยาเสพติด
90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 250 30,732.00 1 30,732.00
21 มิ.ย. 63 - 25 ก.ค. 63 ลดยาเสพติด ชีวิตปลอดภัย หมดทุกข์ ปลอดโรค 250 30,732.00 30,732.00

ขั้นเตรียมการ           1. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ           2. ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินการแก่ผู้เกี่ยวข้อง           3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ และสถานที่สำหรับการดำเนินโครงการ     ขั้นดำเนินการ 1. การอบรม
การให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของยาเสพติดที่มีต่อสุขภาพ 2. การเสาวนา การให้ความรู้และระดมความคิด จำนวน 7 ครั้ง ซึ่งจะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนโดยลงพื้นที่ตามหมู่บ้านๆละ 1 ครั้ง     ขั้นประเมินผล             1. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรมร้อยละ 80

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของยาเสพติดที่มีต่อสุขภาพ 2 ประชาชนมีสุขภาพดี ไม่มีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากยาเสพติด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2563 11:58 น.