โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะ
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะ |
รหัสโครงการ | 63-L5298-02-003 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเกตรี |
วันที่อนุมัติ | 5 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2563 |
งบประมาณ | 73,449.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | น.ส.มีณา พรหมาด ประธานชมรมฯ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเกตรี อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.702,100.095place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 315 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 14 ปี รองลง มาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอเมืองสตูล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2562 มีผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออก ทั้งหมด 493 ราย อัตราป่วย 433.7/แสนประชากร โดยพบเพศหญิง 263 รายและเพศชาย 230 ราย ตำบลเกตรี มีผู้ป่วยสงสัยจำนวน 71 ราย (ข้อมูลจากกลุ่ม SAT รพ.สต.เมือง) ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเกตรี จึงตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ในการป้องกันโรคจากยุงลายเป็นพาหะ 2. เพื่อรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน 3. เพื่อการกำจัดยุงพาหะนำโรคให้ทันเวลาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ลดอัตราป่วยด้วยโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ ในทุกกลุ่มอายุ |
20.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 315 | 20,325.00 | 0 | 0.00 | 20,325.00 | |
15 ส.ค. 64 | กิจกรรมรณรงค์ จำนวน 2 ครั้ง | 315 | 20,325.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 315 | 20,325.00 | 0 | 0.00 | 20,325.00 |
- จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ
2. ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินการแก่ผู้เกี่ยวข้อง
3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ และสถานที่สำหรับการดำเนินโครงการ
ขั้นดำเนินการ 1. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมให้ความรู้แก่ประชาชน 2. ดำเนินการควบคุมโรคด้วยการใช้สเปรย์กำจัดยุง และโลชั่นทากันยุง กรณีมีผู้ป่วยสงสัย 3. ดำเนินการควบคุมโรคด้วยการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย กรณีมีการระบาด 4. ดำเนินการควบคุมโรคด้วยการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในโรงเรียน ในช่วงปิดภาคเรียน
5. ติดตามข้อมูลสถานการณ์ผู้ป่วยสงสัยและผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกผ่านกลุ่มไลน์ SAT รพ.สต.เมือง และเครือข่าย ควบคุมโรค ตำบลเกตรี การประเมินผล 1. ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ร้อยละ 80
2. สามารถควบคุมสถานการณ์ไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ลดอัตราป่วยด้วยโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ ในทุกกลุ่มอายุ
- สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรค
- เป็นการกระตุ้นให้ประชาชน ตื่นกลัวและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2563 12:21 น.