กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคในสถานศึกษา
รหัสโครงการ 63-L5298-02-007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 24,875.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจิตตวัฒนา พรหมวิเชียร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกตรี อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.702,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 729 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กที่เป็นหิดและเหา
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๒ จังหวัดสตูล เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบอยู่ประจำเพื่อรองรับและเปิดโอกาสให้สำหรับนักเรียนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาทั้ง๑๐ประเภทเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษานับว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์อีกกลุ่มหนึ่งที่สำคัญที่ทุกฝ่ายต้องพิทักษ์ปกป้องคุ้มครองให้การดูแลเพื่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดีเกิดความเสมอภาคและได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงเท่าเทียมและมีคุณภาพ
โครงการป้องกันและควบคุมโรคในสถานศึกษา เป็นโครงการที่สนองนโยบายการพัฒนาด้านสุขภาพโดยให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาด้านสุขภาพควบคู่ไปกับการเรียนซึ่งมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประเทศ และสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการของสาธารณสุขของกรมอนามัย โดยบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพควบคุมป้องกันโรคอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เกิดการพัฒนาแบบองค์รวมในพื้นที่โรงเรียนเพื่อให้มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา มิใช่เพียงการปราศจากโรคหรือความพิการเท่านั้นอาจกล่าวได้ว่ามิใช่เพียงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงการมีชีวิตที่มีร่างกายแข็งแรง ในปัจจุบันซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางอย่างที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดภาวะคุกคามต่อสุขภาวะคนไทยเกิดเป็นปัญหาด้านสุขภาพ มลภาวะที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับอาหาร วิถีชีวิต ค่านิยมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาทั้งสิ้นเช่น การเกิดโรคไข้เลือกออก ซึ่งสถานการณ์ของโรคมีการระบาดอย่างต่อเนื่องด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงมีฝนตกเป็นระยะ และสภาพภูมิประเทศของพื้นที่สิ่งแวดล้อมเป็นแหล่งมีน้ำขัง ภาชนะถังน้ำ จึงเอื้อต่อการเกิดโรคที่มีตัวพาหะนำโรค ที่สามารถติดต่อได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้ง่าย และรวดเร็วจะระบาดมากในช่วงฤดูฝนที่มีน้ำขัง ทำให้เอื้อต่อการเกิดโรคของยุงลายและสุขภาพอนามัยส่วนบุคคลที่ดีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน ทั้งเหตุผลทางด้านสุขภาพและเหตุผลทางสังคม การรักษาความสะอาดของมือและร่างกายเป็นสิ่งสำคัญในการยับยั้งการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของเชื้อโรคและความเจ็บป่วย ที่เป็นสุขนิสัยขั้นพื้นฐานที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่นหิดและเหาที่เป็นตัวนำโรคก็เป็นปัญหาต่อสุขภาพเช่นกัน ที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นจุดขาวเล็กๆ ที่เกิดจากการอักเสบของผิวหนัง โดยโรคนี้มักพบบ่อยในคนทุกเพศทุกวัยเช่นกันที่สามารถติดต่อได้ง่ายด้วยการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกัน ที่ผ่านมาปี 2561 พบจำนวนผู้ที่เป็นหิดและเหา จำนวน 48 คน ปี ๒๕๖๒ จำนวน 55 คน ซึ่งมักจะพบเป็นพร้อมกันหลายคนในพื้นที่เดียวกันเช่นบ้าน หอพักโรงเรียนประจำ บางครั้งอาจพบการระบาดได้ตามโรงเรียนที่มีความเป็นอยู่ที่แออัด ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการระบาดของหลายๆ โรค มีโรคหลายโรคที่อาจป้องกันหรือสามารถลดอัตราเสี่ยงลงได้ ซึ่งต้องการความร่วมมือร่วมใจจากหลายๆฝ่ายช่วยการสร้างเสริมสุขภาพ
จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว โดยการจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ รวมทั้งปฏิบัติงานแบบ        เชิงรุกให้กับนักเรียน และครู สามารถเล็งเห็นถึงความสำคัญป้องกันตนเองจากโรคได้ เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของนักเรียน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี โดยมีการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพขึ้นทุกระดับทั่วประเทศ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในการป้องกันและครบคุมโรคไข้เลือดออก การกำจัดหิดเหาในสถานศึกษา และชุมชนใกล้เคียงได้อย่างต่อเนื่อง 2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยของนักเรียน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี โดยมีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อลดปัญหาปริมาณการแพร่ระบาดของโรค

ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมรับการอบรมได้รับความรู้ สามารถนำความรู้ที่ได้รับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีความเป็นอยู่ที่ดี  โดยมีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพอนามัย ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถควบคุม และลดปริมาณการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากได้รับความรู้

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงาน 2.1 ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการป้องกัน และควบคุมโรคในสถานศึกษา 2.2 จัดทำแผนปฏิบัติงานกิจกรรมประจำเดือน 2.3 จัดกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

- โดยการอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการ สาเหตุ การรักษา และการป้องกัน กับนักเรียนและคุณครู
- จัดทำแผนสรุปความรู้ของแต่ละชั้นเรียน เพื่อเป็นผลงานนำไปติดบอร์ดประชาสมพันธ์ที่เป็นความรู้ต่อได้ - ลงพื้นที่สำรวจทำลายแหล่งลูกน้ำยุงลายทุก 7 วันอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้หลัก 5 ป 1 ข
2.4 จัดกิจกรรมกำจัดหิดเหาสำหรับนักเรียนประจำหอพัก - โดยการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาการ สาเหตุ การรักษา และการป้องกันกับนักเรียน
และคุณครูหอพัก - เริ่มการสาธิต พร้อมลงมือปฏิบัติจริงกับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นหิด และเหา โดยคุณครูหอพัก ประธานหอพัก
3. ติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานที่กำหนด 4. สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างต่อเนื่อง 2. ลดปริมาณจำนวนผู้ป่วยลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. นักเรียนและบุคลากรในกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรค  สามารถป้องกันตนเอง และเผยแพร่ความรู้ให้บุคคลใกล้ชิด ทำให้มีความเป็นอยู่อย่างมีความสุข ปราศจากโรคและสิ่งแวดล้อมให้โรงเรียนมีคุณภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2563 13:18 น.