กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลป่าขาด
รหัสโครงการ 60-L526710
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนสุขภาพตำบลป่าขาด
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 680.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววิณา ทองรัตน์ ตำแหน่ง เลขานุการกองทุน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,100.469place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ และประสานหน่วยงานองค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ ที่เกี่ยวกับการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยได้มีการนำแผนที่ยุทธศาสตร์ หรือแผนสุขภาพชุมชนมาเป็นเครื่องมือบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แบบบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและการติดตามผลการดำเนินงานกองทุนสุขภาพ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลป่าขาด ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพตำบลป่าขาดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการนำแผนยุทธศาสตร์ หรือแผนสุขภาพชุมชนมาเป็นเครื่องมือบริหาร

1.คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลป่าขาดมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลป่าขาด
2.ติดตามประเมินผลการดำเนินงานกองทุน
3.ติดตามรายงานผลการดำเนินงานของกองทุนผ่านโปรแกรมรายงานผลการดำเนินงานในระบบออนไลน์ เช่น การส่งเงินสมทบ
4.จัดทำสื่อเอกสารเผยแพร่งานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลป่าขาด
5.สำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลป่าขาด
6.งานอื่น ๆ ที่สนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ
2.คณะกรรมการ ฯ สามารถเข้าใจในแนวทางบริหารกองทุน ฯ อย่างมีประสิทธิภาพ
3.เกิดการดำเนินงานอย่างบูรณาการและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ดำเนินงานและทิศทางระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
5.เกิดพื้นที่ต้นแบบที่มีผลงานเป็นนวัตกรรมดีเดีนพร้อมเรื่องเล่าดี ๆ เกิดเครือข่ายความร่วมมือจากภาคีในการดำเนินสุขภาพชุมชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
6.ได้เผยแพร่ผลงานและเกิดการขยายผลการดำเนินงานสุขภาพชุมชนภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2560 10:45 น.