กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง คัดกรองพัฒนาการ โภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่ อบต.ตะโละแมะนา
รหัสโครงการ 63-2986-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 มีนาคม 2563 - 24 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 29 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 29,790.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัทรพร รัตนซ้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 343 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการ โภชนาการที่ดีในแต่ละด้าน จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต พัฒนาการ โภชนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่นเดียวกันกับโภชนาการ ถ้าเด็กได้รับสารอาหารที่ไม่ถูกต้อง เหมาะสม อาจทำให้มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดีได้ การสำรวจพัฒนาการ โภชนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ ๐ – 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก ๐ – 5 ปี ของศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา ปี 2562 พบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่า ร้อยละ 23.00 โภชนาการต่ำ ร้อยละ 42.94 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็กเด็ก ๐ – 5 ปี กว่าร้อยละ ๗๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการ โภชนาการเด็กในด้านต่างๆ
      ในการนี้ทางศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ โครงการเฝ้าระวัง คัดกรองพัฒนาการ โภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ในปีงบประมาณ 2563ขึ้น โดยบูรณาการร่วมกับชุมชนด้วยการพัฒนาเครื่องมือให้อาสาสมัครสาธารณสุขช่วยเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ โภชนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุเพื่อช่วยค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการ โภชนาการผิดปกติด้านต่างๆ ได้เร็วขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะการเฝ้าระวังคัดกรองพัฒนาการ โภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนแก่อาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ 2. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการช่วยเหลือคัดกรองพัฒนาการ โภชนาการเด็กในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

ร้อยละ 90 ของ อสม.ที่ผ่านการอบรม สามารถคัดกรองพัฒนาการ โภชนาการเด็กได้ตามเกณฑ์

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะการเฝ้าระวังคัดกรองพัฒนาการ โภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนแก่อาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ 2. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการช่วยเหลือคัดกรองพัฒนาการ โภชนาการเด็กในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดการฝึกอบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะการตรวจพัฒนาการเด็ก โดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance & Promotion Manual) ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข โดยวิทยากร กำหนดเนื้อหา ดังนี้
    • การเตรียมความพร้อมก่อนการตรวจคัดกรองพัฒนาการ
    • การสร้างสัมพันธภาพกับเด็กเพื่อการคัดกรองพัฒนาการ
    • ขั้นตอนการคัดกรองพัฒนาการ โภชนาการ - การบันทึกผลการประเมินพัฒนาการ โภชนาการ
      1.2 อาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการลงคัดกรองพัฒนาการ โภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่ ตามแบบคัดกรองที่กำหนด
    • สรุปผลการคัดกรองพัฒนาการ โภชนาการรายบุคคล ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ โภชนาการให้กับเด็กในกลุ่มที่มีพัฒนาการ โภชนาการไม่สมวัย 1.3 จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ โภชนาการ กลุ่มพัฒนาการ โภชนาการไม่สมวัย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนทุกคน ได้รับการตรวจประเมินคัดกรองพัฒนาการ โภชนาการ
  2. เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
  3. ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการ โภชนาการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2563 14:05 น.