กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L1462-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชีล้อม
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 42,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองชีล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองชีล้อม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.433,99.587place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ตำบลคลองชีล้อม ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองชีล้อม เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม - กันยายน ของทุกปี ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิบชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของหนึ่งพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้อมกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

 

2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน

 

3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม

 

4 ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

5 ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
9 พ.ย. 60 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย แจกทรายอะเบทในตุ่งน้ำใช้ในครัวเรือน 0 18,000.00 -
9 พ.ย. 60 พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย 0 24,240.00 -
รวม 0 42,240.00 0 0.00
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ชุมชน รพ.สต. และอื่นๆร่วมกันวางแผนดำเนินการ
  2. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  3. รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์และกำจัดยุงลาย โดยวิธี 3.1 ทางกายภาพ รณรงค์ให้ชุมชนร่วมโรงเรียน ร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน 3.2 ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียนโดย อสม. และพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย 3.3 ทางชีวภาพ สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง
  4. ติดตาม ประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 คนต่อแสนประชากร
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำงายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  5. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2560 11:18 น.