โครงการฟื้นฟูสุขภาพผู้ด้อยโอกาส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
ชื่อโครงการ | โครงการฟื้นฟูสุขภาพผู้ด้อยโอกาส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 |
รหัสโครงการ | 63-L3010-2-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมานิง |
วันที่อนุมัติ | 6 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 พฤษภาคม 2563 - 19 พฤษภาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 8,350.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางซาวีหย๊ะ เบญนิแม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองมานิง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.845,101.293place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้ให้ความหมายของคำว่า “เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสและคำว่า“เด็กกําพรา” หมายความวา เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไมปรากฏบิดามารดาหรือไมสามารถสืบหาบิดามารดาไดโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มีหลักการสำคัญคือ การระดมทรัพยากรทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมดูแล ปกป้อง คุ้มครองเด็ก เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก และส่งเสริมหน้าที่ความรับผิดชอบของครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ในการร่วมมือกันคุ้มครองเด็ก โดยในมาตรา 23 กล่าวคือ “ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและ วัฒนธรรมแห่งท้องถิ่นแต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ดูแลของที่อยู่ในความปกครองมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ โดยเด็กต้องอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคมนั้นและต้องได้รับการเลี้ยงดูให้มีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงได้เรียนรู้ด้านจริยธรรม ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันของประเทศไทยเกิดการชะลอตัว ค่าครองชีพ เครื่องอุปโภคบริโภคมีราคาสูงรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายทำให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ เด็กกำพร้าทำให้เด็กกำพร้า และเด็กด้อยโอกาส ขาดโอกาสในการออกมาทำกิจกรรมในตำบลบางรายอาจเกิดความน้อยใจ และถ้าไม่ได้รับการชี้นำแนวทางที่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมในภายภาคหน้า กอปรกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่๖) พ.ศ.๒๕๔๖ มาตรา ๖๗ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดังนี้ (๖) ส่งเสริมพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กกำพร้า และผู้ด้อยโอกาส ในตำบลให้ดีขึ้นและครอบคลุมทุกพื้นที่ของตำบลคลองมานิงองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมานิงจึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูสุขภาพผู้ด้อยโอกาส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และสร้างกำลังใจแก่เด็กกำพร้า และผู้ด้อยโอกาส ส่งผลให้เด็กกำพร้า และผู้ด้อยโอกาส มีกำลังใจในการดำเนินใช้ชีวิตประจำวันในสังคมต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้เด็กกำพร้าและเด็กด้อยโอกาสได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและรู้เท่าทันโรคใหม่ๆ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันตนเองและคนในครอบครัว และสามารถสร้างขวัญ กำลังใจให้กับกลุ่มผู้เด็กกำพร้า และผู้ด้อยโอกาส ในตำบลเห็นคุณค่าของชีวิตและพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไป เด็กกำพร้าและเด็กด้อยโอกาส ในตำบลจำนวน 40 รายมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ |
40.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.เขียนโครงการ / เสนอโครงการ/ ขออนุมัติโครงการ 2.ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมานิง 3.ประสานงานกับกองทุนเด็กกำพร้าตำบลคลองมานิง เพื่อขอรายชื่อเด็กกำพร้าในตำบลคลองมานิง ประสานงานกับผู้รับผิดชอบงานสวัสดิการผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส เพื่อกำหนดแผนการปฏิบัติงาน 4.ขอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่จาก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลคลองมานิง/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองมานิง/ติดต่อวิทยากร 5.ดำเนินการตามโครงการ 6.สรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
เด็กกำพร้าและเด็กด้อยโอกาสได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและรู้เท่าทันโรคใหม่ๆ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันตนเองและคนในครอบครัว ก่อให้เกิดขวัญ กำลังใจให้กับกลุ่มผู้เด็กกำพร้า และผู้ด้อยโอกาส ในตำบลเห็นคุณค่าของชีวิตและพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2563 16:04 น.