กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนองเรี้ยแก้มใส
รหัสโครงการ 63-L1496 – 02 -12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านหนองเรี้ย
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 29 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 10,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านหนองเรี้ย
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธนิญาภรณ์ ทองแจ้ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.599,99.664place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กวัยเรียน เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตและเป็นวัยที่มีการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะต้องพัฒนาให้มีสุขภาพที่ดี ซึ่งหากมีสุขภาพที่ไม่ดีตั้งแต่วัยเรียน การพัฒนาก็จะเป็นไปอย่างไม่มีศักยภาพ การที่จะมีสุขภาพดีนั้นต้องรู้จักดูแลสุขภาพของตนเอง และเห็นคุณค่าของการมีสุขภาพที่ดี การกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้และเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาพดี เพราะนอกจากจะดูแลสุขภาพของตนเองได้แลัว ยังสามารถที่จะดูแลสุขภาพของเพื่อนนักเรียนในโรงเรียน รวมทั้งสามารถดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพของเพื่อนร่วมชั้นเรียนในโรงเรียนได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการลดปัญหาด้านสุขภาพอนามัยนักเรียน และเนื่องจากนี้ปัจจุบันเด็กไทยมีปัญหาในเรื่องของภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) ที่เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารหรือพลังงานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม โดยครอบคลุมทั้งภาวะโภชนาการต่ำ หรือภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลให้มีน้ำหนักตัวน้อยหรือรู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา และภาวะโภชนาการเกิน หรือภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารในปริมาณที่มากเกินไปจนทำให้เกิดภาวะอ้วน ทั้งนี้ภาวะทุพโภชนาการอาจส่งผลต่อทั้งสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ และการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กนักเรียน และทั้งนี้จากการสำรวจนักเรียนทั้งหมด 84 คน พบว่าเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเรี้ยมีนักเรียน จำนวน 252 คน ที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการที่ต่ำ-เกิน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองเรี้ยจึงจัดทำโครงการหนองเรี้ยแก้มใสขึ้น ประกอบด้วยกิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพนักเรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน และปลูกฝังพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก และกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง นักเรียน เรื่อง ภาวะทุพโภชนาการ เพื่อควบคุมนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการที่ต่ำ-เกิน ป้องกันแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นและเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสม และสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง อันนำไปสู่การพัฒนาครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขนองตนเอง และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 2. เพื่อให้เกิดแกนนำดูแลนักเรียนในการเป็นแบบอย่างเรื่องการดูแลสุขภาพ 3. เพื่อให้นักเรียนสามารถดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองได้ กิจกรรมที่ 2 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ เรื่อง ภาวะทุพโภชนาการให้กับนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน 2. เพื่อควบคุมปัญหานักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการที่ต่ำ-เกิน 3.เพื่อเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหาร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กิจกรรมที่1 1. นักเรียนรู้จักดูแลสุขภาพของตนเองได้ 2. โรงเรียนมีแกนนำสุขภาพที่เป็นแบบอยางเรื่องสุขภาพ 3. นักเรียนที่ผ่านการอบรมสามารถดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพของเพื่อนนักเรียนในโรงเรียน ครอบครัวและชุมชนของตนเองได้ กิจกรรมที่ 2 1. นักเรียน ผู้ปกครองมีควาามรู้ ความเข้าใจ เรื่อง ภาะวทุพโภชนาการที่ดี 2. นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนากรต่ำ-เกิน มีจำนวนลดลง 3. นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2563 11:22 น.