กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(Care giver)
รหัสโครงการ 63-L6961-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มปฐมภูมิ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 57,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญนภา มะหะหมัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัย ตั้งแต่ปี 2543-2544 คือมีประชากรอายุ 60 ปี คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 4 ครั้งที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 6,394,022 คน พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคมประมาณ 5 ล้านคน หรือร้อยละ 79 และเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง จำเป็นต้องสนับสนุนบริการด้านสุขภาพและสังคม ประมาณ 1.3 ล้าน หรือร้อยละ 21 อำเภอสุไหงโก-ลก มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 8,521 คน (ข้อมููลจากทะเบียนราษฎร์,25 กุมภาพันธ์ 2562) เมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 11.03 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อำเภอสุไหงโก-ลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สำหรับผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ร้อยละ 6.60 จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุตำบลสุไหงโก-ลก ร้อยละ 28.07 พบว่ามีผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน 45 คน ติดบ้าน จำนวน 43 คน ติดสังคม จำนวน 3,571 คน รวมกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการดูแลระยะยาว จำนวน 88 คน ซึ่งปัจจุบัน กองทุนระบบการดูแลระยะยาวฯ (LTC) เทศบาลฯ มีจำนวนผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 70 ชม. จำนวน 20 คน แต่ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริงมีเพียง 15 คน สัดส่วนผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ต่อผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง 1:6 และมีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงรายใหม่เฉลี่ยเดือนละ 2-3 ราย จึงทำให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผูู้สูงอายุ (Care Giver) ไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคม สิ่งแวดล้อม และสามารถปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลแก่ผู้สูงอายุได้ถูกต้อง อย่างมีคุณภาพ

ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้หลังการอบรม ร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) มีความพึงพอใจต่อการบริการดูแลผู้ป่วยระยะยาว

ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุพึงพอใจต่อการบริการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคม สิ่งแวดล้อม และสามารถปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลแก่ผู้สูงอายุได้ถูกต้อง อย่างมีคุณภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) มีความพึงพอใจต่อการบริการดูแลผู้ป่วยระยะยาว

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรม จัดประชุมทีมคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว 500.00 -
1 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Care Giver หลักสูตร 70 ชม. 54,700.00 -
1 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำ Care Plan 875.00 -
1 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำ Care Conference 1,000.00 -
1 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรม ถอดบทเรียนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว 875.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมทีมคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จำนวน 10 คน 2 ครั้ง ดังนี้ - วางแผนการทำงาน แผนปฏิบัติการการดูแลระยะยาวและจัดการสุขภาพอย่างมีส่วนของ ภาคีเครือข่าย - จัดระบบการให้บริการเยี่ยมบ้านในผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล
- ประสานบุคลากรทีมสหวิชาชีพ เครือข่ายการเยี่ยมบ้าน
- จัดเตรียมข้อมูลผู้ที่ต้องได้รับการดูแล รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลจากการคัดกรอง และจัดทีม หมอครอบครัวร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการประเมินผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตามแบบ
ประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL Index)
และแบ่งกลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิง ออกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการการบริการด้านสาธารณสุข
- สรุปประเมินผลการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาระบบการดำเนินการ ดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่องในพื้นที่ ต่อไป กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดอบรมผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ(Care Giver) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Care giver หลักสูตร ๗0 ชั่วโมง แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสาสาธารณสุข เพื่อจัดบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงโดยมี 2 กิจกรรมย่อย ดังนี้   2.1 การเตรียมความพร้อมก่อนการจัดอบรม - จัดเตรียมหลักสูตรระยะแรก 18 ชั่วโมง และจัดอบรมให้ครบหลักสูตร 70 ชั่วโมงของ กรมอนามัย     - จัดทำคู่มือ สำหรับ Care giver     - จัดทำแบบสอบถาม สำหรับ Care giver     - คัดเลือก Care giverเข้าอบรม     - เตรียมแบบสรุปผลการติดตาม/การดำเนินงาน/ปัญหาอุปสรรคการทำงานของ Care giver 2.2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Care giverหลักสูตร 70 ชั่วโมง ระยะเวลาฝึกอบรม 10 วัน - จัดการอบรม ภาคทฤษฎี จำนวน 5 วัน ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติในสถานพยาบาลและ
      ในชุมชน จำนวน 5 วัน (รวมเป็น 10 วัน)     - กิจกรรมการอบรม ประเมินความรู้และทักษะของCare giver ก่อน - หลังการอบรม       ประเมินเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจัดทำทะเบียน/ทำเนียบ Care giver และ
สนับสนุนการดำเนินงานของ Care giver กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำ Care Plan         - จัดแบ่งกลุ่มผู้ป่วย ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่าย แต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมองกลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่มีภาวะสับสนทางสมองกลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่าย หรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงกลุ่มที่ 4 เหมือนกลุ่มที่ 3 และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง หรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต   - แบ่งผู้ป่วยตามเขตของรับผิดชอบของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (CARE GIVER) และดูแลตามชุดสิทธิประโยชน์
        - จัดทำแผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล (CARE PLAN)


กิจกรรมที่ 4 จัดทีมหมอครอบครัวออกเยี่ยมบ้านและจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำ Care Conference โดยทีมสหวิชาชีพและเครือข่าย   - ประชุมทีมสหวิชาชีพและเครือข่าย วางแผนการลงเยี่ยม สรุปแนวทางการลงประเมินในพื้นที่       - ให้บริการตามชุดสิทธิประโยชน์ สำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง 4 กลุ่ม โดยการลงเยี่ยมบ้าน
              คัดกรอง ประเมินสภาพผู้สูงอายุ
      - จัดทำ Care Conference ในพื้นที่ ในรายที่มีปัญหาซับซ้อน ต้องได้รับการดูแลจากหลาย               หน่วยงาน       - ติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง       - ประเมินความพึงพอใจผู้สูงอายุ/ญาติที่ได้รับการเยี่ยม       - สรุปผลการเยี่ยมบ้าน
กิจกรรมที่ 5 ถอดบทเรียนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ตำบลสุไหงโก-ลก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้มาตรฐาน
  2. บุคลากรในการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ลดภาวะแทรกซ้อนและมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2563 11:33 น.