กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)
รหัสโครงการ 63-L3063-5-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ดอนรัก
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูหะหมัด วันสุไลมาน
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูหะหมัด วันสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในประเทศจีน และแพร่ระบาดไปในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งอาการโรค คือ มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิต ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อในทุกมณฑล และยังพบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๓ ทางการจีนรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น จำนวน 80,026 ราย เสียชีวิต จำนวน 2,912 ราย และพบผู้ป่วยยืนยันนอกประเทศจีนแผ่นดินใหญ่หลายราย ทั้งนี้ มีผู้ป่วยยืนยันทั่วโลกแล้ว จำนวน 89,068 เสียชีวิตแล้ว จำนวน 3,039 ราย ขณะนี้มีหลักฐานการติดต่อจากคนสู่คน พบผู้ป่วยยืนยันในผู้ที่ไม่มีประวัติการเดินทางไปประเทศจีน แต่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรค สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน ๔๒ ราย พบผู้เสียชีวิต ๑ ราย (ข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๓) โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องจากเชื้อดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ส่วนในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด-๑๙ (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โดยประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓ เป็นต้นมา
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ร้านค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ดอนรัก ซึ่งรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ให้กับประชาชนในพื้นที่

ร้อยละ ๖๐ ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน

0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

มีอุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,000.00 0 0.00
18 - 31 มี.ค. 63 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ 0 33,000.00 -
23 มี.ค. 63 ป้ายประชาสัมพันธ์ 0 2,000.00 -

(๑) ขั้นตอนการวางแผนงาน ๑.๑ ประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ ๑.๒ ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน (๒) จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา (๓) ขั้นตอนการดำเนินงาน     ๓.๑ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค ได้แก่ เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ ฯลฯ     ๓.๒ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ อบรมให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)         - อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)         - สาธิตและผลิตเจล/สเปรย์ล้างมือสำหรับบริการประชาชน
        - ผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนในพื้นที่
  ๓.๓ สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อให้แก่กลุ่มเสี่ยง ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (๔) ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ (๕) สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(๑) ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)
(๒) ประชาชนในพื้นที่ผลิต เจลล้างมือ ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2563 16:18 น.