กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฉลุง


“ โครงการบ้านฉลุงร่วมใจ ลดขยะ ลดโรค ”

ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวชดาดล พิทักษ์คุมพล

ชื่อโครงการ โครงการบ้านฉลุงร่วมใจ ลดขยะ ลดโรค

ที่อยู่ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L5273-2-1 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบ้านฉลุงร่วมใจ ลดขยะ ลดโรค จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฉลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบ้านฉลุงร่วมใจ ลดขยะ ลดโรค



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการบ้านฉลุงร่วมใจ ลดขยะ ลดโรค " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 63-L5273-2-1 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 50,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฉลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยนับว่าเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชน และระดับประเทศ สาเหตุเนื่องมาจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น สถานประกอบการต่าง ๆ มีมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างเสี่ยงไม่ได้ก็คือขยะมูลฝอย ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตรกรรม แต่ถ้ามีปริมาณมากก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือน ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่และกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ แปรรูปขยะเป็นพลังงานด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ และเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคต่าง ๆ จากการทำประชาคมสุขภาพในหมู่บ้าน พบว่า ปัญหาขยะเป็นปัญหาอันดับ 1 ในหมู่บ้านและรองลงมาคือปัญหาโรคติดต่อที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือขยะ เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคไข้เลือดออก ในปีที่ผ่านมาในหมู่ที่ 7 บ้านฉลุง มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกระบาดในพื้นที่ส่วนหนึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อม ส่งผลให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค ด้วยเหตุนี้ ทางหมู่บ้านจึงได้จัดทำโครงการ ลดขยะในครัวเรือนเพื่อลดโรค ในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านฉลุงขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนและชุมชน ได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็น ในการคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะและเป็นการลดปริมาณขยะที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันปัญหาการเกิดมลพิษที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในชุมชน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ข้อ 1.เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ
  2. ข้อ 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์โดยใช้ หลักการ 3Rs คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่
  3. ข้อ 3.เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะมูลฝอย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก การจัดการสิ่งแวดล้อมและการคัดแยกขยะ
  2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านและกิจกรรม 5ส
  3. การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการจัดการเรียนรู้ในชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง 2.เกิดระบบการจัดการขยะของชุมชนที่ดีและมีประสิทธิภาพ 3.สร้างรายได้เสริม และปลูกฝังนิสัยการรักษาสิ่งแวดล้อม ให้กับครัวเรือนในชุมชน 4.ชุมชนมีศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะ


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก การจัดการสิ่งแวดล้อมและการคัดแยกขยะ

วันที่ 8 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทของขยะ  วิธีการจัดการขยะ  ปัญหาโรคที่เกิดจากขยะ  การสาธิตการทำปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักชีวภาพจากเศษขยะอินทรีย์  การรีไซเคิลขยะ  และการวางแผนการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนในพื้นที่ หมู่ 7 ได้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ  ทำให้พื้นที่หมู่ 7 สะอาด  เป็นชุมชนที่ปลอดจากขยะ

 

70 0

2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านและกิจกรรม 5ส

วันที่ 16 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

มีการจัดกิจกรรม 5 ส Big Cleaning Day เดือนละ 2 ครั้ง จำนวน 5 เดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนในพื้นที่ได้มีการจัดกิจกรรม 5 ส  Big Cleaning Day  จำนวน 5 ครั้ง  เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรฯ  จึงไม่สามารถดำเนินการตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้  และจากที่ได้มีการดำเนินการไปแล้ว ก็ส่งผลให้ประชาชนได้รัูจักการคัดแยกขยะ  ทำให้ไม่มีขยะในชุมชนไม่ตกค้าง  ส่งผลให้ไม่มีที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อ  จึงทำให้สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะมูลฝอยได้เป็นอย่างดี

 

0 0

3. การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการจัดการเรียนรู้ในชุมชน

วันที่ 7 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

มีการจัดการเรียนรู้  การสาธิตทำน้ำหมักชีวภาพ  จากเศษอาหาร  ผลไม้  เป็นต้น  รวมถึงการจัดทำสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้  การจัดทำจุดคัดแยกขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนได้สามารถได้ความรู้ในการเรื่องของการคัดแยกขยะ  โดยการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์โดยใช้ หลักการ 3Rs คือ  การใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่  ส่งผลให้ชุมชนเป็นหมู่บ้านปลอดขยะ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ได้มีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก การจัดการสิ่งแวดล้อมและการคัดแยกขยะ จำนวนผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 70 คน มีการประชุมและเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดรณรงค์ Big Cleaning Day เดือนละ 2 ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง จัดทำตะแกรงขยะรีไซเคิล จำนวน 2 ใบ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการคัดแยกขยะ จัดทำศูนย์เรียนรู้ จุดสาธิตน้ำหมักชีวภาพ แหล่งเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อ 1.เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ
ตัวชี้วัด : 1.แกนนำและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ถูกต้อง ร้อยละ 80
0.00 0.00

 

2 ข้อ 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์โดยใช้ หลักการ 3Rs คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่
ตัวชี้วัด : 2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีการแยกขยะในครัวเรือน ร้อยละ 80
0.00

 

3 ข้อ 3.เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะมูลฝอย
ตัวชี้วัด : 3.ค่า HI น้อยกว่า 10, CI น้อยกว่า 5
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 70 70
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 70 70
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ข้อ 1.เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ (2) ข้อ 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์โดยใช้ หลักการ 3Rs คือ  การใช้น้อย  ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ (3) ข้อ 3.เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะมูลฝอย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก การจัดการสิ่งแวดล้อมและการคัดแยกขยะ (2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านและกิจกรรม 5ส (3) การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการจัดการเรียนรู้ในชุมชน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการบ้านฉลุงร่วมใจ ลดขยะ ลดโรค จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L5273-2-1

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวชดาดล พิทักษ์คุมพล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด