กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัย
รหัสโครงการ 2560-L7257-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 8 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมัทนียา ขวัญดี
พี่เลี้ยงโครงการ ภ.ก.สมชาย ละอองพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.006,100.503place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเทศบาลเมืองคอหงส์ มีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่มาจากการดำรงชีวิตของคนในปัจจุบัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาและภาระของท้องถิ่นในการบริหารจัดการกำจัดขยะ ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมาย ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เช่น บ้านเมืองสกปรก ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุสัตว์และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาป อีกทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำ แหล่งน้ำเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาน้ำท่วม เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่าควันจากการเผาขยะ ซึ้งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งสิ้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้ตระหนักถึงปัญหาในเรื่องดังกล่าว จึงได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน ในการบริหารจัดการปัญหาขยะ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนในชุมชน ซึ่งนอกจากจะเป็นการส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนในชุมชนแล้วยังถือได้ว่าเป็นการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคทางอ้อมอีกด้วย ซึ่งทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่สะอาด ไม่มีการหมักหมมของขยะมูลฝอย มีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยต่างๆ อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองที่จะตามมาในอนาคต
  1. ชุมชนเขตเทศบาลมีการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างน้อย 3 กลุ่ม
2 2. เพื่อเป็นการเสริมสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ
  1. ประชาชนมีความรู้และมีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ ร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขออนุมัติโครงการ
  2. จัดประชุมแกนนำชุมชนในแต่ละโซนพื้นที่ เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนจังหวัดสะอาด 3Rs ประชารัฐ
  3. จัดการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์
  4. สนับสนุนการดำเนินการในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนเพื่อลดปริมาณขยะ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะประเภทต่างๆ อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2560 14:29 น.