โครงการเคาะประตูชวนแม่น้องหนูไปฝากครรภ์ ปี 2560
ชื่อโครงการ | โครงการเคาะประตูชวนแม่น้องหนูไปฝากครรภ์ ปี 2560 |
รหัสโครงการ | 60-L7884-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลปัตตานี |
วันที่อนุมัติ | 21 เมษายน 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 136,877.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนงนุชช่อพันธุ์กุล |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางกัลยาเอี่ยวสกุล |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การอนามัยแม่และเด็ก เป็นรากฐานของการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะมารดาซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดบุตรการที่จะให้เด็กเกิดมามีชีวิตรอดปลอดภัย มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเป็นพลเมืองดีและเยาวชนที่ดีของชาติย่อมขึ้นอยู่กับมารดาที่ต้องวางรากฐานให้เด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์และเป็นแม่ที่ดีมีคุณภาพ จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กในตำบลสะบารังและอาเนาะรู จังหวัดปัตตานี วิเคราะห์ข้อมูลความครอบคลุมของการอนามัยแม่และเด็กในปีที่ผ่านมา255๘ และ ๒๕๕๙ พบว่าฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ร้อยละ ๖๓.96และ ๖4.96ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ๕8.10 และ 60.49ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า2,500 กรัม ร้อยละ 9.18 และ 8.15 ทำให้งานอนามัยแม่และเด็กยังไม่ผ่านตัวชี้วัดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดทั้งนี้เนื่องจากมารดามีพฤติกรรมแบบเดิมๆและอายที่จะมาฝากครรภ์ไม่ตระหนกและเห็นความสำคัญ โดยเฉพาะในมารดาที่เป็นวัยรุ่นประกอบกับมารดาขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลในเรื่องต่างๆ เช่น การฝากครรภ์ก่อนอายุ 12 สัปดาห์ การมาตามนัดทุกครั้งซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาและภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ทันเวลาการดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ และหลังคลอดรวมถึงการเลี้ยงดูทารกที่มีคุณภาพจึงจำเป็นต้องเร่งรัดพัฒนากลยุทธการอนามัยแม่และเด็ก เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์และการคลอดที่ปลอดภัย
กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปัตตานีได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้จัดทำโครงการเคาะประตูชวนแม่น้องหนูไปฝากครรภ์ ประจำปีงบประมาณ 2560เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | .เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ และงานอนามัยแม่และเด็ก มีการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนกระตุ้นให้มาฝากครรภ์ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์เพื่อเตรียมพร้อมในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกต้อง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดในระหว่างการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๖5 |
||
2 | เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ให้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและให้ความสำคัญต่อการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์,ฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้งและคลอดที่โรงพยาบาล หญิงตั้งครรภ์มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและให้ความสำคัญต่อการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ , ฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้งมากกว่าร้อยละ 60 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
กลวิธี่ที่ 1.จัดประชุมทีมคณะทำงานประกอบด้วยผู้รับผิดชอบงานบุคลากรทางสาธารณสุขพี่เลี้ยงทุกชุมชนประธานอสม.ทุกชุมชนคืนข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็ก วิเคราะห์และร่วมกันวางแผนพัฒนา กิจกรรม :จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง คืนข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็ก วิเคราะห์และร่วมกันวางแผนพัฒนา กลวิธี่ที่ 2. เพิ่มพูนความรู้ในเรื่องการอนามัยแม่และเด็ก แก่ อสม. / อาสาสมัคร / ผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนา กิจกรรม : อบรมให้ความรู้แก่ อสม. / อาสาสมัคร / ผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนาในเรื่อง: -ความหมายสาเหตุอาการของการตั้งครรภ์ -ประโยชน์และความสำคัญของการมาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ -วิธีการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตามไตรมาสต่างๆ -ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดในระหว่างการตั้งครรภ์และวิธีปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยง -การเตรียมตัวสำหรับการคลอดและประโยชน์ของการคลอดที่โรงพยาบาล - การดูแลตนเองและทารกหลังคลอด -การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ -ดูวีดิทัศน์เรื่องการอนามัยแม่และเด็ก -ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรมเกี่ยวกับการอนามัยแม่และเด็ก โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกัน เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ กลวิธีที่ ๓. เพิ่มบทบาทขององค์กรชุมชน กิจกรรม : -มีการสำรวจค้นหา หญิงวัยเจริญพันธ์/คู่สมรสใหม่และหญิงตั้งครรภ์รายใหม่โดยอสม. / อาสาสมัคร / ผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนา ประสานวิทยากรสู่ชุมชนสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ประโยชน์ของการฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์(ก่อนอายุ 12 สัปดาห์) การเตรียมตัวมาฝากครรภ์ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดในระหว่างการตั้งครรภ์และวิธีปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงการปฏิบัติตัวและการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์/หลังคลอดการดูแลทารก และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ -มีการนำเสนอข้อมูลผลงานการอนามัยแม่และเด็กในปีที่ผ่านมา ในเวทีประชาคมของชุมชนโดยอสม. / อาสาสมัคร / ผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนา ในเขตรับผิดชอบของตนเอง มีการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการ แก้ปัญหาการอนามัยแม่และเด็กในชุมชน
กลวิธีที่ ๔. กำหนดกิจกรรมการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การฝากครรภ์ทันทีที่ทราบว่า ตั้งครรภ์และติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์รวมทั้งสร้างแรงจูงใจในการมาฝากครรภ์ให้ครบตามเกณฑ์
กิจกรรม:
-รณรงค์ประชาสัมพันธ์เฝ้าระวังกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์และคู่สมรสใหม่ ขอความร่วมมือผู้นำศาสนาในการออกเสียงตามสายสามีที่สงสัยภรรยาตั้งครรภ์ให้มารับอุปกรณ์ตรวจ urine preg test และนำส่งฝากครรภ์ทันทีที่พบหญิงตั้งครรภ์ และติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง และคลอดที่โรงพยาบาล โดยมีการประชาสัมพันธ์ผ่าน อสม. / อาสาสมัคร / ผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนาหอกระจายข่าว ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ที่ติดไว้ตามสถานที่ต่างๆในชุมชนและลงเยี่ยมบ้านพร้อมเจ้าหน้าที่แจกใบปลิวเชิญชวนฝากครรภ์ก่อน12สัปดาห์พร้อมบริการซักประวัติการฝากครรภ์เพื่อลดระยะเวลารอคอย และสร้างความศรัทธาในการรับบริการ ส่งต่อแผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลปัตตานี
กลวิธีที่ ๕. ประเมินผลการดำเนินโครงการ กิจกรรม: -ประเมินผลงานอนามัยแม่และเด็กตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข และจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการวางแผนงานและพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2560 14:51 น.