กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการลดการใช้ภาชนะโฟมเพื่อสุขภาพที่ดีของสตรีและครอบครัวตำบลลำใหม่ ”
ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา



หัวหน้าโครงการ
นางอานีย์ อาลี




ชื่อโครงการ โครงการลดการใช้ภาชนะโฟมเพื่อสุขภาพที่ดีของสตรีและครอบครัวตำบลลำใหม่

ที่อยู่ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63-L4141-02-10 เลขที่ข้อตกลง 12/2563

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการลดการใช้ภาชนะโฟมเพื่อสุขภาพที่ดีของสตรีและครอบครัวตำบลลำใหม่ จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการลดการใช้ภาชนะโฟมเพื่อสุขภาพที่ดีของสตรีและครอบครัวตำบลลำใหม่



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อรณรงค์ให้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร (2) เพื่อให้กลุ่มสตรีลดการใช้โฟมบรรจุอาหาร (3) เพื่อให้กลุ่มสตรีเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติทดแทนโฟม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ คือ กลุ่มสตรีได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร นำไปสู่การเลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร และหันมาใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติทดแทนโฟม โดยการทำภาชนะจากธรรมชาติ เช่น จานใบเตยหนามและกาบหมาก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็วและมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้จะมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ได้ตามมาตรฐานด้านสุขาภิบาลและมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อยแล้วก็ตามแต่ ยังมีพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวกราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า เมื่อนำกล่องโฟมไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูงหรือที่มีไขมันหรือน้ำมัน จะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ได้แก่สารสไตรีน ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซินออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูกทำให้โลหิตจางและสารทาเลทเป็นสารทำลายระบบสืบพันธุ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคและจากการสำรวจปริมาณขยะตั้งแต่ปีของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขี้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น หรือแหล่งเที่ยวท่องต่างๆ จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทนและใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี ซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูงเปลืองพื้นที่ฝังกลบและขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง
ดังนั้นทางกลุ่มสตรีตำบลลำใหม่ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะจัดการอันตรายจากโฟมที่ใช้บรรจุอาหาร รณรงค์ลดการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารและสาธิตการทำภาชนะจากธรรมชาติ เช่น จานใบเตยหนามและกากหมาก เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อรณรงค์ให้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร
  2. เพื่อให้กลุ่มสตรีลดการใช้โฟมบรรจุอาหาร
  3. เพื่อให้กลุ่มสตรีเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติทดแทนโฟม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารและการเลือกใช้ภาชนะทดแทน โฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ และสามารถลดปริมาณขยะจากโฟมได้ในระดับหนึ่ง ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยน พฤติกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพกับการลดใช้โฟมบรรจุอาหาร


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมให้ความรู้

วันที่ 4 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้แก่ กลุ่มสตรีตำบลลำใหม่ โดยวิทยากรชื่อนางสาววีรวรรณา บุญญานุวัตร ตำแหน่ง แพทย์แผนไทยชำนาญการจากโรงพยาบาลยะลา ในหัวข้อเรื่อง
- อันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารและการเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
- สาธิตการทำภาชนะจากธรรมชาติ เช่น จานใบเตยหนามและกาบหมาก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มสตรีตำบลลำใหม่ จำนวน 50 คน ได้รับความรู้เรื่อง อันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารและการเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ และสามารถทำภาชนะจากธรรมชาติ เช่น จานใบเตยหนามและกาบหมากได้

 

50 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อรณรงค์ให้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร
ตัวชี้วัด : - กลุ่มสตรีได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร
100.00 100.00

 

2 เพื่อให้กลุ่มสตรีลดการใช้โฟมบรรจุอาหาร
ตัวชี้วัด : - กลุ่มสตรีลดการใช้โฟมบรรจุอาหาร
95.00 95.00

 

3 เพื่อให้กลุ่มสตรีเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติทดแทนโฟม
ตัวชี้วัด : - กลุ่มสตรีมีความรู้ในการเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
100.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 50 50
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อรณรงค์ให้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร (2) เพื่อให้กลุ่มสตรีลดการใช้โฟมบรรจุอาหาร (3) เพื่อให้กลุ่มสตรีเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติทดแทนโฟม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ คือ กลุ่มสตรีได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร นำไปสู่การเลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร และหันมาใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติทดแทนโฟม โดยการทำภาชนะจากธรรมชาติ เช่น จานใบเตยหนามและกาบหมาก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

หม้ออบก้านหมาก ใบหนามเตย ใบตอง มีน้อยทำให้ล่าช้า

 

ต้องหาหม้อที่ใหญ่กว่านี้หรือหลายใบ


โครงการลดการใช้ภาชนะโฟมเพื่อสุขภาพที่ดีของสตรีและครอบครัวตำบลลำใหม่ จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63-L4141-02-10

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางอานีย์ อาลี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด