กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดยุงลายป้องกันภัยร้ายโรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๓
รหัสโครงการ 63-L2483-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 19,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิสมะแอ มะซง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนานาค อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.09708,102.00961place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานระบาดวิทยาของตำบลนานาคในปี ๒๕๖๒ พบว่ามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ๑๒ ราย คิดเป็นอัตราป่วย๑๒๖.๙ต่อแสนประชากรการระบาดของโรคจะมีการระบาดปีเว้นปีเนื่องจากชุมชนในปัจจุบันได้มีการขยายตัวมากขึ้นแต่ไม่มีการวางแผนควบคุมแมลงนำโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจึงส่งผลให้เกิดการแพร่พันธุ์ของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาซึ่งโรคนี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสายพันธุ์อยู่ตลอดเวลาจากอดีตที่ผ่านมาการระบาดของไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยามักจะเกิดในช่วงฤดูฝนแต่ปัจจุบันพบว่าโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาสามารถเกิดได้ทุกฤดูกาลและนโยบายการพัฒนาบริการสาธารณสุขได้เปลี่ยนจากเชิงรับมาเน้นการให้บริการในเชิงรุกเพื่อส่งเสริมให้องค์กรในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและป้องกันสุขภาพของตนเองมากขึ้นขณะเดียวกันโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาเป็นโรคที่ป้องกันได้หากประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันโรคที่ถูกต้องการสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคและปลูกจิตสำนึกในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาให้ได้ผลดีนั้นจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมโดยให้คนในชุมชนได้เห็นความสำคัญถึงสภาพปัญหาและความร้ายแรงของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิกขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นกิจการที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนองค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,500.00 0 0.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 0 19,500.00 -

ขั้นที่ ๑ เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ ๑.๑ ประสานงานเครือข่ายในการแต่งตี้งทีมคณะทำงานในพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์ ๑.๒ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอทรัพยากรและงบประมาณสนับสนุนโครงการฯ ๑.๓ จัดทำโครงการและแผนปฎิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ ขั้นที่ ๒ ดำเนินการตามโครงการ ๒.๑จัดกิจกรรมรณรงค์การสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ทุกหมู่บ้านและทุกหน่วยงาน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบรพสต.okok8 ๒.๒รณรงค์ทำ Big Cleaning Day ทั้งตำบลทุกวันศุกร์ และควบคุมการระบาดของโรคจากผู้ป่วยที่เกิดโดยการพ่นหมอกควัน ขั้นที่ ๓ สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล ๓.๑ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ ๓.๒รายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ขั้นที่ ๔ การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ๔.๑ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคติดจ่อ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ๔.๒สนับสนุนสื่อความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกทุกหน่วยงานในพื้นที่ ๔.๓ ติดตามและสำรวจเก็บบันทึกค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในกลุ่มเป้าหมาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร ๒.ทำให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก ๓.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ๔.ประชาชนสามารถทำกิจกรรมในการทำลายแหล่เพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้านชุมชนมัสยิดโรงเรียนให้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2563 00:00 น.