กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการพอกเข่าด้วยสมุนไพรสูตรเย็นในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเข่าเสื่อม แทนการใช้ยากลุ่ม NSADs ในต.ปากล่อ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
รหัสโครงการ 63-PKL-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากล่อ
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 พฤษภาคม 2563 - 26 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 14 กันยายน 2563
งบประมาณ 15,412.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซารีนา อาดำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.62,101.187place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2563 26 มิ.ย. 2563 15,412.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 15,412.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคปวดเข่าหรือโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เป็นโรคหนึ่งที่เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญระดับโลก องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นเป็น 570 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2563 ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ จากการศึกษา พบว่ามีผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ร้อยละ 43.9 โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสุขภาพและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เช่นกัน เนื่องจากก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน เป็นอุปสรรคในการเข้าสังคม ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่ต้องรับประทานยากลุ่มNSAIDs เพื่อใช้บรรเทาอาการปวด ซึ่งยากลุ่มจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคอื่นๆตามมา เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคไต สาเหตุของการเจ็บป่วย เกิดจาก 1.อายุมากมีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมมาก เนื่องจากอายุการใช้งานข้อเข่ามาก พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2-3 เท่า 2. คนที่มีรูปร่างอ้วน มีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนผอม 3. การใช้งาน และท่าทาง ในการทำกิจกรรมที่ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ยกของหนัก นั่งพับเพียบ 4. โครงสร้างเข่าผิดรูปตั้งแต่กำเนิด เช่น เข่าโก่ง 5. เคยประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับข้อเข่า 6.โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ , เก๊าท์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากล่อ พบว่ามีผู้สูงอายุที่เป็นโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อมเข้ารับบริการรักษาเพิ่มขึ้นทุกปี จากการสำรวจข้อมูล ปีงบประมาณ 2562 พบว่า มีผู้ป่วยเป็นโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม จำนวน 78 ราย เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 32 ราย ใช้ยากลุ่มNSAIDs ในการรักษา (ร้อยละ 81 ) (ฐานข้อมูลเวรสถิติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพปากล่อ) จากสภาพปัญหาดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปากล่อ จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการพอกเข่าด้วยสมุนไพรสูตรเย็นในผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแทนการใช้ยากลุ่มNSAIDs สำหรับทางการแพทย์แผนไทย มีสูตรยาสมุนไพรหลายขนานที่สามารถนำมาช่วยลดอาการปวด บวม อักเสบ ของข้อเข่าได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเสริมการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้เป็นอย่างดี โดยการพอกเข่าสมุนไพรสูตรเย็นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม เพราะมีความสะดวก ปลอดภัยและใช้ต้นทุนต่ำ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์สมุนไพรที่มีในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถผลิตยาพอกเข่าได้ด้วยต้นเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และมีทักษะในการพอกเข่าด้วยยาสมุนไพรสูตรเย็น ในการลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม 2.เพื่อลดการใช้ยา NSAIDs ในผู้สูงอายุเป็นโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.สังเกตจากการตอบ ซักถามของผู้สูงอายุที่ได้รับการให้วามรู้ ( กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 20 / ผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน ) 2.วัดจากความพึ่งพอใจและมีประสิทธิผลในการลดอาการปวดเข่า ในผู้สูงอายุได้ วัดจากจำนวนเป้าหมายทั้งหมดที่ได้รับความรู้ ( กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100 / ผู้สูงอายุ จำนวน 18 คน )

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 300 15,412.00 0 0.00 15,412.00
5 - 8 พ.ค. 63 กิจกรรมที่ 1 วางแผนการดำเนินงาน และเก็บรวบรวมข้อมูล 60 0.00 - -
16 พ.ค. 63 กิจกรรมที่ 2 แจกสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการพอกเข่าด้วยยาสมุนไพรสูตรเย็น ในการลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อมในพื้นที่ 60 360.00 - -
18 พ.ค. 63 กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเรื่องการพอกเข่าด้วยยาสมุนไพรสูตรเย็น ในการลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม 60 7,600.00 - -
20 - 24 พ.ค. 63 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมพอกเข่าด้วยสมุนไพรให้ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการและผ่านเกณฑ์การคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทย 60 7,344.00 - -
28 - 30 พ.ค. 63 กิจกรรมที่ 5 ติดตามประเมินผลและวัดความพึ่งพอใจของผู้ป่วยจากการพอกเข่าด้วยสมุนไพร กับการใช้ยากลุ่ม NSAIDs 60 108.00 - -
รวมทั้งสิ้น 300 15,412.00 0 0.00 15,412.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และมีทักษะในการพอกเข่าด้วยยาสมุนไพรสูตรเย็น ในการลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม ( 24 ก.พ.63 – 6 มี.ค.63) กิจกรรม 1. วางแผนในการดำเนินงาน และเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ จำนวน 60 ราย
      2. แจกสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการพอกเข่าด้วยยาสมุนไพรสูตรเย็น ในการลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อมในพื้นที่ แก่กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน โดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม.
  3. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ เรื่องการพอกเข่าด้วยยาสมุนไพรสูตรเย็น ในการลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม แก่กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน 6 ชั่วโมง โดยวิทยากร       4. การสาธิตและการฝึกปฏิบัติการพอกเข่าด้วยยาสมุนไพร แก่กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน โดยวิทยากร       5. ดำเนินการคัดผู้เข้าร่วมการทดลองตามเกณฑ์คัดเข้า-คัดออก แก่กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ จำนวน 60 ราย โดยเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทย

2.เพื่อลดการใช้ยา NSAIDs ในผู้สูงอายุเป็นโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม (9 มี.ค.63 – 13 มี.ค 63) กิจกรรม 1. ผู้เข้าร่วมการทดลองต้องลงนามยินยอมเข้าร่วมการทดลองทุกรายที่ผ่านเกณฑ์ แก่กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ จำนวน 11 ราย โดยเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทย       2. ผู้เข้าร่วมการทดลอง จะได้รับการพอกบริเวณเข่า ครั้งๆละ 15-30 นาที วันเว้นวัน จำนวน 5 ครั้งๆ แก่กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ จำนวน 11 ราย โดยเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยและผู้ช่วยแพทย์แผนไทย   3.วัดระดับการปวด หลังได้รับการพอกเข่าทุกครั้ง โดยเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยและผู้ช่วยแพทย์แผนไทย       4. ติดตามประเมินผลและวัดความพึ่งพอใจของผู้ป่วยจากการพอกเข่าด้วยสมุนไพร กับการใช้ยากลุ่ม NSAIDs หลังการทดลอง แก่กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ จำนวน 11 ราย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น นำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้เกิดประโยชน์ โดยการนำมาเป็นส่วนประกอบของการพอกเข่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม เพราะมีความสะดวก ปลอดภัย ใช้ต้นทุนต่ำ สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงจากการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ได้ และส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถผลิตยาพอกเข่าได้ด้วยต้นเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2563 11:26 น.