กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)
รหัสโครงการ 63-L5294-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 17 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นางยุพิน เสียมไหม 2. นางนวลปรางค์ ใจสมุทร 3. นางวาสนา ลิมาน 4. นางสาวสมใจ แซ่โถว 5. นางสาวสมเจริญ เสียมไหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี ๒๕๔๕ ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในชื่อ ไวรัสคโรน่า ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ ๗ ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS)
ข้อมูลตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๒ - วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ทางการจีนรายงานผู้ป่วยทั่วโลกจากทั้งหมด ๒๗ ประเทศ และ ๒ เขตบริหารพิเศษ จำนวนทั้งสิ้น ๖๙,๒๘๔ ราย เสียชีวิต ๑,๖๗๐ ราย และมีหลักฐานการติดต่อต่อจากคนสู่คน พบผู้ป่วยยืนยันในผู้ที่ไม่มีประวัติการเดินทางไปประเทศจีนแต่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรค ในประเทศไทย ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
พบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังทั้งสิ้น ๘๓๗ ราย พบผู้ป่วยติดเชื้อยังคงรับไว้ในโรงพยาบาล ๑๓๔ ราย อนุญาตให้กลับบ้านแล้ว ๖๙๒ ราย และอยู่ระหว่างสังเกตอาการที่แผนกผู้ป่วยนอกและที่บ้าน ๑๑ ราย เป็นผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันสะสม ๓๔ ราย (หายป่วยและแพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล ๑๕ ราย อยู่ระหว่างการรักษาพยาบาล ๑๙ ราย และเป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ๒ ราย) ตามพระราชบัญญัติ กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ หมวด ๒ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริหารสาธารณะ มาตรา ๑๖ (๑๙) ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล และพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒ หมวด ๒ ส่วนที่ ๓ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา ๖๗ (๓) ให้อำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อตามหนังสือศาลากลางจังหวัดสตูล ที่ สต ๐๐๒๓.๓/ว ๑๕๘๒ ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) มาตรการที่สำคัญ คือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัย และการล้างมือเพื่อป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) เพื่อเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ สถานที่ราชการ สถานบริการ สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก ศาสนสถาน ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลนาทอน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)

มีทรัพยากรเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)

0.00
2 เพื่อลดการเกิดและการระบาดของโรคติดต่อในชุมชนและตำบล

การเกิดและการระบาดของโรคติดต่อในชุมชนและตำบลลดลง

0.00
3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคด้วยตนเอง

ประชาชนสามารถป้องกันโรคได้ด้วยตนเอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
26 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมให้ความรู้-การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) 0 4,350.00 -
26 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) 0 15,650.00 -
26 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 คัดกรองและติดตามกลุ่มเสี่ยง 0 11,250.00 -
รวม 0 31,250.00 0 0.00
  1. ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา และรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
  2. ติดต่อประสานเงินหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน
  3. จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนเพื่อพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทุนต่อสถาณการณ์ได้

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. จัดทำสื่อให้ความรู้ ป้ายประชาสัมพันธ์ เรื่องการป้องกันและดูแลตนเอง
2. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ ตามจุดต่างๆ 9 หมู่บ้าน
3. ให้คำแนะนำและดำเนินการควบคุมโรคกรณีพบผู้ป่วยเสี่ยงสูง
4. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ ผ่าน อสม. ของแต่ละหมู่บ้าน
5. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ไม่ป่วยด้วยโรคติดต่อ
  2. ไม่มีการระบาดรุนแรงของโรคติดต่อในพื้นที่
  3. ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2563 00:00 น.