กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเขาไพร ร่วมใจ ลดกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3อ 2ส ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพร
วันที่อนุมัติ 3 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียงดาว รอดความทุกข์
พี่เลี้ยงโครงการ นายสราวุธ พรหมมินทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง) ในปี 2561 สูงถึง 25,225 ล้านบาทต่อปี และเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2,465 ล้านบาทต่อปี ประมาณการจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 10 ล้านคน จะสูญเสียค่ารักษาทั้งสิ้น 79,263 ล้านบาทต่อปี ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของประชากร ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรผลต่อความยากจนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และสังคม ดังนั้น การสนับสนุนให้ประชาชนเห็นความสำคัญใส่ใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและรู้ค่าตัวเลขระดับความดันโลหิตสูงของตนเอง จะทำให้เกิดความตระหนักในการป้องกันควบคุมและลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งนี้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง นั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (1) การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็มจัด (2) ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ (3) งดการสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา (4) ควรรับการตรวจวัดค่าระดับความดันโลหิตเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และ (5) การทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ (กรมควบคุมโรค, 2561) จากผลการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงประชาชนในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 990 คน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพร ปี 2563 พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 148 คน คิดเป็นร้อยละ 14.94 และมีกลุ่มป่วย 111 คน คิดเป็นร้อยละ 11.21 กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 8.50 และมีกลุ่มป่วย 27 คน คิดเป็นร้อยละ 2.72 ดังนั้น ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขให้ได้ผลทั้งในเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จำเป็นต้องพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม และทักษะที่จำเป็นด้านสุขภาพ ตลอดจนการจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ทั้งนี้หลักสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดี คือ การดูแลและให้ความรู้ด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณ และถูกเวลา ควรเลือกบริโภคอาหารให้ครบ ๕ หมู่ มีความหลากหลายและพอเพียง
  ดังนั้นเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการ โครงการเขาไพร ร่วมใจ ลดกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลัก 3อ 3ส แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ปี 2563 เพื่อที่จะนำความรู้ไปสู่การดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูง อันจะเป็นแนวทางในการป้องกันรักษาและเร่งสร้างความรู้เพื่อเป็นเกราะป้องกันสุขภาพของคนในชุมชนให้ ห่างไกลจากโรค เพื่อชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนของโรค

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคลินิกไร้พุง และคลินิก NCD ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

 

0.00
4 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันรายใหม่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน 1.2 จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ 1.3 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
    1. ขั้นดำเนินการ 2.1ประชาสัมพันธ์โครงการ และประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมโครงการ 2.2 เก็บข้อมูลสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย โดยการคัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เพื่อค้นหากลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย       2.3 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการเขาไพร ร่วมใจ ลดกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลัก 3อ 3ส ปี 2563
    2. ขั้นสรุปโครงการ 3.1 สรุปผลโครงการ 3.2 จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงฯมีความรู้ความเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อไม่ให้เกิดโรค   ไม่ติดต่อเรื้อรังและภาวะอ้วนลงพุง 2. มีภาคีเครือข่ายและบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ. 3ส.

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2563 15:06 น.