กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease 2019 (Covid - 19) )
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 198,238.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวัชรินทร์ ชิตณรงค์
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้โรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ได้เข้าสู่ภาวะแพร่ระบาดไปทั่วโลกแล้ว และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินเป็นระดับ 3 เพื่อติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการทรัพยากร เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวังค้นหาป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสที่มาจากต่างประเทศ โดยเน้นการคัดกรองไข้ ณ ช่องทางเข้าออกประเทศที่ท่าอากาศยาน 5 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ตและกระบี่ เพิ่มการเฝ้าระวังที่โรงพยาบาล สนับสนุนการเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ (ด่วนที่สุด นธ 0023.6/126) และสถานการณ์ปัจจุบันข้อมูล ณ วันที่ 18 มีนาคม 2563 ของประเทศไทย (รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินกรมควบคุมโรค) ผู้ติดเชื้อ จำนวน 212 ราย หายแล้ว 42 ราย และเสียชีวิต 1 ราย และสถานการณ์ของจังหวัดสงขลา ณ วันที่ 19 มีนาคม 2563 (ข้อมูลจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา) ผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวนโรค สะสม 98 ราย ส่งตรวจไม่พบเชื้อ 83 ราย รอผลตรวจรอบแรก 15 ราย รอผลตรวจยืนยัน 12 ราย และผู้ป่วยยืนยัน 0 ราย และสถานการณ์ผู้ติดเชื้อของตำบลท่าชะมวง เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 (จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ) พบกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง สัมผัสผู้ป่วย จำนวน 21 คน และที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ จำนวน 5 คน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกัน ก่อนการเกิดโรคดังกล่าวและหนังสือด่วนที่สุดกระทรวงมหาดไทย ที่มท.0808.2/ว1552 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2563 เรื่องแนวทางการปฏิบัติ ในการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นโรคติดต่อหรือเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid 19) ) กำหนดให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช้ยา วัสดุอุปกรณ์ เครื่องแต่งกาย และวัสดุอื่นที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น ถุงมือยางหรือหนัง ผ้าปิดปากปิดจมูก เป็นต้น ในการปฏิบัติงานของบุคคลที่ได้รับมอบหมาย และด้วยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (3) กำหนดบทบาทหน้าที่ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการควบคุมป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (39) เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การรักษาพยาบาล ประกอบกับ กองทุนหลักประกันสุขภาพ ประเภทกิจกรรมที่ 10 (5) เผชิญภัยพิบัติและโรคระบาดด้วยความตระหนักดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID –๑๙) โดยของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease 2019 (Covid - 19))

 

0.00
2 เพื่อสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและผู้ปฏิบัติงาน ให้มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. กำหนดรูปแบบการดำเนินการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด -19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid 19) )
2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ 3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคขั้นดำเนินการ กิจกรรมการตรวจคัดกรอง 1. ได้รับแจ้งข้อมูลจากโรงพยาบาลรัตภูมิ/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ 2. ประชุมวางแผนชุดทำงานเพื่อดำเนินการ 3. ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการตรวจคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 4. ติดตามและรายงานผล กิจกรรมการเฝ้าระวังผู้ป่วย 1. จัดทำทะเบียนผู้สัมผัส/ผู้ที่ต้องเฝ้าระวัง 2. กำหนดรูปแบบการเฝ้าระวัง 3. จัดหาอุปกรณ์ในการเผ้าระวัง 4. ติดตามและรายงานผล กิจกรรมทำความสะอาด ที่พักกลุ่มเสี่ยง สถานที่พักผู้ป่วยและสถานที่ชุมชน 1. กำหนดพื้นที่ที่ต้องทำความสะอาด 2. ประชุมและระดมบุคลากรในการทำความสะอาด 3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาด 4. ดำเนินการจัดทำความสะอาด 5. รายงานผลการดำเนินการ สรุปผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
  2. สามารถควบคุมป้องกันการระบาดของโรคได้
  3. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีวัสดุอุปกรณ์สามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2563 14:02 น.