โครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 63-L3348-1-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.ในนิคมฯบ้านลานข่อย |
วันที่อนุมัติ | 29 มกราคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 29 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 109,525.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวขวัญใจ ระหย้า |
พี่เลี้ยงโครงการ | เจ้าหน้าที่สาธารณสุขฯ เทศบาลตำบลลานข่อย |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.831,99.78place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับ ความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ
และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ชมรม อสม. รพ.สต.ในนิคมฯบ้านลานข่อยได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาไข้เลือดออกจึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ลดอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ 50 ต่อแสนประชากร |
1.00 | |
2 | เพื่อสร้างความตระหนักและความร่วมมือของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก
|
1.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
29 ม.ค. 63 | อบรมพัฒนาศักยภาพทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) | 50 | 7,250.00 | - | ||
29 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรมรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก | 75 | 2,025.00 | - | ||
29 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรมควบคุมป้องกันการระบาดของโรค | 0 | 96,250.00 | - | ||
29 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรมตรวจประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน | 10 | 4,000.00 | - | ||
รวม | 135 | 109,525.00 | 0 | 0.00 |
- นำเสนอ/ทบทวนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและโครงการแก้ไขปัญหา
- เสนอผู้บริหารขออนุมัติโครงการ
- ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชน อสม. ประชาชนในทุกหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจและขอความร่วมมือในการดำเนินงาน
- ประชาสัมพันธ์แจ้งให้ประชาชนและผู้นำชุมชนทราบในวันประชุมประจำเดือนในหมู่บ้าน
- รณรงค์/เยี่ยมบ้านเพื่อการกระตุ้นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
- สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
- อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลง
- ไม่มีอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน
- มีความร่วมมือของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2563 13:25 น.