โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกประจำปีงบประมาณ 2563
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกประจำปีงบประมาณ 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L3360-2-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านลำ |
วันที่อนุมัติ | 28 กุมภาพันธ์ 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 15,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ประธานชมรม อสม.รพ.สต.บ้านลำ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายสุรศักดิ์ จันทร์กลับ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.556,100.008place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 67 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากเพราะมีผู้ป่วย ป่วยจำนวนมากในแต่ละปีเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ การระบาดตลอดปีและพบมากในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบวางไข่ในแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ในช่วงฤดูฝนมักมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่(Dengue) เชื้อไวรัสชิคุนกุนย่า(Chikungunya) เป็นสาเหตุของโรคซึ่งปัจจุบันจากการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการพบว่าเชื้อไวรัสเด็งกี่มี 4 ชนิดเชื้อดังกล่าวสามารถทำให้เลือดออกรุนแรงได้ ดังนั้นเมื่อ เชื้อตัวใดตัวหนึ่งเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อตัวนั้นอย่างถาวรและยังต่อต้านข้ามไปเชื้ออื่นๆอีก 3 ชนิดแต่อยู่ไม่ถาวร โดยทั่วไปอยู่ได้นาน 6-12 เดือน หลังระยะนี้แล้ว คนที่เคยติดเชื้อเด็งกี่ชนิดหนึ่ง อาจติดเชื้อเด็งกี่ชนิดอื่นต่างจากครั้งแรกก็ได้ถือเป็นการติดเชื้อครั้งที่สอง การติดเชื้อซ้ำๆเชื่อกันว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก จากสถิติปี 2562 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำ ซึ่งประกอบด้วย บ้านร่มเมือง บ้านยางยายขลุย บ้านลำ บ้านป่าตอ และบ้านนาภู่ พบผู้ป่วยจำนวน 5 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิต
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำ ในพื้นที่เขตรับผิดชอบ โดยการสำรวจค่า BI CI และ HI พบว่าทั้ง 3 หมู่บ้าน ยังมีปัญหาอยู่มาก ปัญหาที่เราต้องเร่งแก้ปัญหาคือ โรคไข้เลือดออก เพราะจากการสำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายยังพบว่ามีความชุกของลูกน้ำในเกณฑ์ที่สูง เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจในการป้องกัน คิดว่าการป้องกันโรคเป็นหน้าที่ของฝ่ายสาธารณสุข ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลร่มเมืองกับเทศบาลตำบลร่มเมือง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ จึงตระหนักถึงสาเหตุของปัญหา หากไม่มีการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ถูกต้องทันทีจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน จนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของประชาชนเพิ่มจำนวนขึ้นอีกก็เป็นได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราจะต้องป้องกันและรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยวิธีกำจัดลูกน้ำยุงลาย และกำจัดตัวยุงลายทั้งวิธีกายภาพ และชีวภาพและทางเคมีในบ้าน วัดและโรงเรียน ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดไข้เลือดออกก็จะลดน้อยลงด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องไข้เลือดออก
|
0.00 | |
2 | ข้อที่ 2.เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้
|
0.00 | |
3 | ข้อที่ 3. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรค ไข้เลือดออกได้ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร - ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร และไม่มีผู้ป่วยตาย |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 67 | 15,900.00 | 2 | 15,900.00 | 0.00 | |
9 เม.ย. 63 | ประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนมาตรการและสถานการณ์โรค | 67 | 10,050.00 | ✔ | 10,050.00 | 0.00 | |
9 พ.ค. 63 | กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุ่งลายในพื้นที่ | 0 | 5,850.00 | ✔ | 5,850.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 67 | 15,900.00 | 2 | 15,900.00 | 0.00 |
1.ประชุมเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องกับโครงการเพื่อกำหนดหน้าที่และแผนการ
ในชุมชน
2.จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงาน
3.ติดตามประเมินสุขภาพ
4.สรุปผลรายงานในการปฏิบัติงาน
๕.รายงานและประเมินผลโครงการ
- เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องไข้เลือดออก
- เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้
- เพื่อลดอัตราการป่วยและลดอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2563 09:30 น.