กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอารมณ์ดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 63-L3360-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุร่มเมืองบูรพา
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 29,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานชมรมผู้สูงอายุร่มเมืองบูรพา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุนันท์ จันทร์กลับ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.556,100.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมีประชากรเพิ่มขึ้นมากมาย และมีแนวโน้มจะทวีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิวัฒนาการด้านการแพทย์ทันสมัย และเข้าถึงได้ง่าย ประชากรปลอดภัยจากการเจ็บป่วย ไม่สุขสบาย ทำให้มีอายุยืนขึ้นเรื่อยมา ส่งผลให้กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปหรือวัยผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและ ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น สุขภาพร่างกายอ่อนแอ ไม่ค่อยแข็งแรงเท่าที่ควร ส่งผลให้ผู้สูงอายุขาดโอกาสในการพบปะสังสรรค์กับเพื่อนในวัยเดียวกัน เก็บตัวอยู่กับบ้าน ขาดการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลานเท่าที่ควร และขาดทักษะในการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันทางชมรมผู้สูงอายร่มเมืองบูรพา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกลุ่มผู้สูงอายุ จึงได้จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุร่มเมืองบูรพาขึ้นมา จากความเห็นชอบ และสนับสนุนจากตัวของผู้สูงอายุเอง และ อสม.รวมทั้งประชาชนทุกคนในชุมชนซึ่งกิจกรรมของชมรมได้สนับสนุน ให้สมาชิกในชมรมมีการรวมกลุ่มจัดเวทีสาธารณะเพื่อผู้สูงอายุได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิต มีการปรึกษาหารือเรื่องส่วนตัว และจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทั้งการดูแลเสริมทักษะการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และวิธีผ่อนคลายความเครียด การตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐาน เช่น การตรวจวัดความดันโลหิต การเจาะน้ำตาลในเลือด เป็นต้น     จากการเก็บข้อมูลผู้สูงอายุร่มเมืองบูรพา ผู้สูงอายุหมู่ 1 จำนวน 170 คน ผู้สูงอายุหมู่ 2 จำนวน 80 คน  ผู้สูงอายุหมู่ 3 จำนวน 62 คน ผู้สูงอายุหมู่ 4 จำนวน 176 คน  รวมทั้งสิ้น 488 คน พบผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2562 จำนวน 247 คน คิดเป็นร้อยละ 50.61 ดังนี้ ผู้สูงอายุหมู่ 1 จำนวน 89 คน ร้อยละ ๕๒.๓๕  ผู้สูงอายุหมู่ 2 จำนวน 36 คน ร้อยละ ๔๕  ผู้สูงอายุหมู่ 3 จำนวน 36 คน ร้อยละ ๕๘ ผู้สูงอายุหมู่ ๔ จำนวน ๘๖ คน ร้อยละ ๔๘.๘๖
    ดังนั้นทางชมรมผู้สูงอายุร่มเมืองบูรพา ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน ๔ หมู่บ้าน โดยส่งเสริมให้เกิดภาคีเครือข่ายตัวแทนของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ 4 หมู่บ้านเพื่อช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เป็นสื่อกลางในการช่วยส่งข้อมูล การชักจูงให้ผู้สูงอายุได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ฉะนั้นการมีแกนนำเครือข่าย จึงเป็นกลไกสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 29,800.00 3 29,800.00 0.00
15 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมอบรม/ให้ความรู้ 60 19,000.00 19,000.00 0.00
15 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทางการเคลื่อนไหวทางกาย 0 10,500.00 10,500.00 0.00
15 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต 0 300.00 300.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 60 29,800.00 3 29,800.00 0.00
  1. จัดทำแผนและขออนุมัติจัดทำโครงการฯ และขอความร่วมมือในการดำเนินงานบุคลากรด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
        2. ประชุม ชี้แจง คณะกรรมการ/คณะทำงานในการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอารมณ์ดี  ชีวีมีสุข
        3. เสนอขออนุมัติโครงการต่อประธานกองทุน ฯ     4. ประชุมกำหนดแผนการขับเคลื่อนโครงการในแต่ละกิจกรรม     5. เตรียมข้อมูลชมรมผู้สูงอายุบูรพา  เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรมโครงการฯ
        6. ติดต่อประสานงานวิทยากร
        7. จัดการอบรมให้ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเรื่อง อาหาร อารมณ์ สุราและบุหรี่     8. ดำเนินกิจกรรมในการส่งเสรอมสุขภาพเฝ้าระวังโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ     9. จัดกิจกรรมการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านเพื่อนช่วยเพื่อนห่วงใยสุขภาพ เดือนละ ๑ ครั้งกับทีมสุขภาพ     9. นิเทศติดตาม/ประเมินผล 6 เดือน  ครั้ง     10.สรุปผลโครงการ และรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุออกกำลังกายรูปแบบการเดิน 60 คน สัปดาห์ละ 3วันๆละ 150 นาที     2. ผู้สูงอายุจำนวน 60 คน ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ
        3. ผู้สูงอายุได้รับบริการตามมาตรฐานสถานบริการในพื้นที่ กลุ่มเสี่ยง เข้าคลินิก DPAC ร้อยละ 97 และกลุ่มป่วย เข้าสู่คลินิกอรุณสวัสดิ์ ร้อยละ 100
        4.ชมรมผู้สูงอายุร่มเมืองบูรพาเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมเดือนละ 2 ครั้ง/ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2563 10:21 น.