กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะฉุกเฉินโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID 19)ตำบลทุ่งตำเสา
รหัสโครงการ ปี2563-L5275-5-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 25 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 200,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาลัชฎาวรรณ สุวรรณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อ้างถึง มติคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา วาระครั้งที่ ๘/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๒ ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบอนุมัติแผนการใช้จ่ายเงินของกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ กิจกรรมประเภทที่ ๕ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ วงเงิน ๒๐๐,๐๐๐.-บาท
      เนื่องจากขณะนี้มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือ โควิด ๑๙ (Corona Virus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)) ซึ่งมีการแพร่ระบาดทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของไวรัส “โคโรน่าสายพันธุ์ใหม่” เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” และเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๓ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศยกระดับสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ เป็น “การระบาดใหญ่” (Pandemic) แล้ว หลังจากพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเชื้อในอย่างน้อย ๑๑๐ ประเทศทั่วโลก และมีติดเชื้อรวมกว่า    ๑.๒ แสนราย ทั้งนี้ในประเทศไทยมีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อดังกล่าวเป็นโรคติดต่ออันตราย ซึ่งสถานการณ์ในประเทศไทย ณ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๓ มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อแล้ว จำนวน ๑,๗๗๑ ราย เสียชีวิตแล้ว ๑๒ ราย (ข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) สำหรับจังหวัดสงขลา พบผู้ป่วยแล้ว จำนวน ๒๙ ราย (ข้อมูลจากสำนักงานาธารณสุขจังหวัดสงขลา) โดยรัฐบาลได้ประเมินสถานการณ์ว่าประเทศไทยเข้าสู่การแพร่ระบาดในระยะที่ ๓ โดยเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถึงการประกาศ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมโรคทั้งการจำกัดการเดินทางออกต่างจังหวัดหรือประเทศกลุ่มเสี่ยง เช่น จีน เกาหลีไต้ อิหร่าน อิตาลี ฯลฯ การตรวจค้นหากลุ่มเสี่ยงที่เดินทางจากกรุงเทพและปริมณฑล เป็นต้น ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยจังหวัดสงขลาขอความร่วมมือให้ทุกหน่วยงานจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมโรคให้เพียงพอ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่รับผิดชอบ ในเบื้องต้นเทศบาลเมืองทุ่งตำเสาได้จัดทำโครงการเพื่อให้ความรู้และจัดหาอุปกรณ์ในการป้องกันโรคเพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ แต่เนื่องจากยังขาดแคลนอุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมโรค จึงขอเสนอโครงการ “โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะฉุกเฉินโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) ตำบลทุ่งตำเสา” เพื่อตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

-  กลุ่มเสี่ยงหรือผู้สัมผัสโรคสามารถปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดได้ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๙๐ -  ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้ยืนยันติดเชื้อได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตามมาตรการอย่างเคร่งครัด

0.00
2 เพื่อให้บุคลากร เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคมีวัสดุอุปกรณ์เพียงพอสำหรับปฏิบัติงานได้

-  ร้อยละ ๑๐๐ ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานควบคุมโรคมีอุปกรณ์มาตรฐานครบครันขณะปฏิบัติงาน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 200,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ ๑ รณรงค์ให้ความรู้ 0 5,000.00 -
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่2การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรค 0 150,000.00 -
3 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่3การสำรวจและตรวจเยี่ยมกลุ่มเสี่ยง 0 45,000.00 -

(๑) รณรงคใหความรูเรื่อง อาการและการปองกันโรคผานชองทางสื่อสารตาง ๆ เชน ปายประชาสัมพันธ แผน พับ รถแหประชาสัมพันธ เปนตน เพื่อสร้างการรับรูในวงกวาง (๒) การจัดหาอุปกรณปองกันโรค เชน หนากากอนามัยสำหรับประชาชนหรือหนากากผ้า การจัดหาแอลกอฮอลเจลลางมือแก่ หนวยงาน สถานที่สำคัญในชุมชน บานกลุมเสี่ยง หรือผูปวยติดบานติดเตียง เครื่องวัดอุณหภูมิแบบยิงหนาผาก เครื่องมืออุปกรณที่จำเปนตอการควบคุมโรค น้ำยาฆาเชื้อสำหรับพน ควบคุมโรค เปนตน
(๓) การสำรวจและตรวจเยี่ยมกลุมเสี่ยง บุคคลที่เดินทางมาจากที่อื่น เชน ประเทศเพื่อนบาน ประเทศกลุมเสี่ยง กลุมที่เดินทางกลับมาจากกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล โดยการขึ้นทะเบียนผานแกนนำ อสม.หรือเจาหนาที่ควบคุมโรคระดับ ทองถิ่น ขอใหนำสงทะเบียนกลุมเสี่ยงแก รพ.สต.หรือโรงพยาบาลในพื้นที่โดยเร็ว การลงติดตามเฝาระวังการปฏิบัติในการแยกตัวเอง ขณะอยูในที่พักอาศัย ๑๔ วัน
(๔) สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(๑)  ประชาชนในพื้นที่ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ได้
(๒)  บุคลากร เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมโรคเพียงพอสำหรับปฏิบัติงานได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2563 14:42 น.