กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 63-L8402-5-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 85,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประกอบ จันทสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2563 30 มิ.ย. 2563 85,000.00
รวมงบประมาณ 85,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 12124 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนคนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019
15.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-1๙) ในประเทศจีน เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น และต่อมาระบาดไปอีกหลายเมือง ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อในทุกมณฑล และยังพบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศ โดยมีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก รวม 197 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 นครรัฐ เรือ Diamond Princess เรือ Grands Princess และเรือ MS Zaandam ในวันที่ 31 มีนาคม จำนวน 789,240 ราย มีอาการรุนแรง 29,661 ราย เสียชีวิต 38,092 ราย โดยประเทศที่มียอดผู้ป่วยยืนยัน 10 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 164,359 ราย อิตาลี 101,739 ราย สเปน 87,956 ราย จีน 82,270 ราย (รวม ฮ่องกง 714 ราย มาเก๊า 38 ราย) เยอรมนี 67,051 ราย ฝรั่งเศส 44,550 ราย อิหร่าน 41,495 ราย สหราชอาณาจักร 22,141 ราย สวิสเซอร์แลนด์ 15,922 ราย และ เบลเยี่ยม 12,775 ราย และสถานการณ์ในประเทศไทย โดยการคัดกรองตามนิยามการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า การคัดกรองผู้เดินทางเข้า-ออกที่ท่าอากาศยาน คัดกรองเที่ยวบินสะสมตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2563 รวมทั้งสิ้น 36,151 เที่ยวบิน ผู้เดินทางได้รับการคัดกรองสะสมรวม 4,366,787 ราย พบผู้ป่วยที่มี อาการเข้าได้ตามนิยามการคัดกรองจำนวน 488 ราย การคัดกรองผู้เดินทางที่ท่าเรือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง วันที่ 30 มีนาคม 2563 มียอดการคัดกรองเรือสะสม 1,198 ลำ มีผู้ที่เดินทางได้รับการคัดกรองสะสมรวม 130,075 ราย พบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ตามนิยามการคัดกรองจำนวน 2 ราย การคัดกรองผู้เดินทางผ่านด่านพรมแดนทางบก ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 มีนาคม 2563 มีผู้ได้รับการคัดกรองสะสมรวม 1,736,408 ราย และการ คัดกรองผู้มาต่ออายุหนังสือเดินทางที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แจ้งวัฒนะ ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563 ได้ทำการคัดกรองรวมทั้งสิ้น 137,860 ราย รวมพบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ตามนิยามการคัดกรองที่ ช่องทางเข้าออกประเทศ จำนวน 490 ราย ซึ่งมีผลดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการตามนิยามเฝ้าระวังโรค วันที่ 31 มีนาคม 2563 ณ เวลา 18.00 น. พบผู้ป่วยที่มีอาการตามนิยามเฝ้าระวังโรครายใหม่ จำนวน 1,401 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสมทั้งหมด จำนวน 20,097 ราย และสถานการณ์ในจังหวัดสงขลา ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 เวลา 14.00 น. พบว่ามีผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังโรค จำนวน 302 ราย โดยตรวจพบเชื้อ จำนวน 289 ราย และรอผลตรวจ จำนวน 13 ราย พบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 26 ราย ซึ่งประกอบด้วยคนในจังหวัดสงขลา 21 ราย จังหวัดยะลา 2 ราย จังหวัดนราธิวาส 2 ราย จังหวัดนครศรีธรรมราช 1 ราย พบผู้ที่รักษาหายสามารถกลับบ้านได้แล้ว จำนวน 11 ราย โดยเป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราช 1 ราย จังหวัดนราธิวาส 1 ราย จังหวัดสงขลา 9 ราย และยังมีผู้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล จำนวน 15 ราย โดยอำเภอรัตภูมิยังไม่พบผู้ป่วยที่ยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ประกอบกับสถานการณ์ในตำบลคูหาใต้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 เวลา 15.30 น. ซึ่งเป็นสถานการณ์ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ โดยต้องดำเนินการเฝ้าระวัง จำนวน 98 ราย
เทศบาลตำบลคูหาใต้ ได้รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงต้องจัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อป้องกันการระบาดโรคในพื้นที่จุดเสี่ยงในเขตพื้นที่ตำบลคูหาใต้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ในพื้นที่เทศบาลตำบลคูหาใต้

พื้นที่ตำบลคูหาใต้ได้รับการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

100.00
2 เพื่อป้องกันการระบาดของโรคในพื้นที่จุดเสี่ยงในเขตพื้นที่ตำบลคูหาใต้

เขตพื้นที่ตำบลคูหาใต้ได้รับการป้องกันการระบาดของโรค

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 85,000.00 2 75,485.00
9 มี.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 0 85,000.00 75,485.00
1 มิ.ย. 63 ประชุมวางแผน 0 0.00 -
16 ก.ค. 64 คืนเงินโครงการ 0 0.00 0.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน
    • ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและ รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
    • ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคูหาใต้ 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-1๙)
        3.2 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 3.3 ดำเนินการค้นหากลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากต่างประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ โดยดำเนินการร่วมกับผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและเจ้าหน้าที่เทศบาล เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรค 3.4 ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 3.5 สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
  2. ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลคูหาใต้ ได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
  3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2563 17:10 น.