กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนในชุมชน ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 63-L5182-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 2
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมณฑา บินดุเหล็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.896,100.655place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หมู่ที่ 2 บ้านเกาะทากเหนือ ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีประชากรทั้งหมด 1,338 คน มีกลุ่มเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์ต่อการเป็นโรคติดต่อเรื้อรังจำนวนตามที่ อสม. แต่ละเขตรับผิดชอบทั้ง 13 เขต ของหมู่บ้านทั้งหมด 571 คน ทางชมรม อสม. หมู่ที่ 2 บ้านเกาะทากเหนือ ร่วมกับทีมหมอครอบครัวของทาง รพ.สต.นาหว้า ได้ทำการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงอยู่ในช่วงอายุ 35 - 74 ปี จำนวน 105 คน ผลการคัดกรองปรากฏออกมา ทั้งระดับน้ำตาลและความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงสูงมาก ทางชมรม อสม.บ้านกาะทากเหนือเล็งเห็นว่ากลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ควรได้รับการดูแลและทำความเข้าใจอย่างใกล้ชิดในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การทำอารมณ์ การงดเหล้า งดบุหรี่ หรือตามหลัก 3 อ. 2 ส. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น ซึ่งโรคเหล่านี้จะตามมามาก และจะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาและเป็นภาระกับสังคมซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอบรมทำความเข้าใจให้ความรู้ทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ทำให้สามารถที่จะดูแลตัวเองได้เมื่อมีความเข้าใจ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นอย่างดี และมีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตัวเอง

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างถูกต้องในการปฏิบัติตนเอง

90.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองมากยิ่งขึ้น

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองมากยิ่งขึ้น

90.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตัวเองกับผู้อื่นได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้

ร้อยะล 80 ของประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองและผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ

90.00
4 ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติร้อยละ 100 ได้รับแจ้งผลการตรวจและคำแนะนำในการพบแพทย์ในการรักษาต่อไป

ร้อยละ 100 ได้รับแจ้งผลการตรวจและคำแนะนำในการพบแพทย์

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
3 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้ 105 22,700.00 22,700.00
รวม 105 22,700.00 1 22,700.00
  1. สำรวจข้อมูล คัดกรองกลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง
  2. ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่หมู่บ้าน
  3. จัดทำโครงการเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.นาหว้า
  4. อบรมตามโครงการที่ได้กำหนดไว้ตามกลุ่มเป้าหมาย
  5. ติดตามผลโครงการทุก 1 เดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน
  6. รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.นาหว้า
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ประชาชนที่ได้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างถูกต้องในการปฏิบัติตนเอง
  2. ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองและผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ
  3. ทำให้ชุมชนลดภาวะการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2563 15:16 น.