กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 สิงหาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 4,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดารุณี มากแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2563 31 ส.ค. 2563 4,750.00
รวมงบประมาณ 4,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชนเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วมเนื่องจากความพิการทางร่างกายและทางจิตส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ผู้พิการไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ พื้นที่ตำบลปันแต มีจำนวนบ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 1,685 หลังคาเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 6,653 คน มีผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงไม่สามารถทำกิจวัตรปะจำวันได้ต้องมีผู้พิการทั้งหมด จำนวน 262 คน ต้องมีผู้ดูแล จำนวน 45 คน ซึ่งผู้ดูแลประจำส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฝึกทักษะในการดูแลที่ถูกต้อง จึงทำให้ผู้พิการและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น กล้ามเนื้อลีบ ข้อติด แผลกดทับ เป็นต้น ทำให้ทราบถึงปัญหาของผู้พิการในการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพและขาดการรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทักษะการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการขาดโอกาสรับการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันและช่วยเหลือตนเองได้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้พิการต่างๆ ยังเข้าใจไม่ถูกต้อง อาทิเช่นสิทธิประโยชน์ของผู้พิการเกณฑ์การขึ้นทะเบียน พม. การเข้ารับการรักษาและฟื้นฟูทั่วไป สถานที่ในการรับสงเคราะห์เกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องช่วยเหลือต่างๆ รวมถึงการมีกิจกรรมช่วยเหลือต่างๆทำให้ผู้พิการบางรายไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่องส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต เห็นความสำคัญจึงจัดให้มีการจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน เพื่อให้ผู้พิการและผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวเข้าถึงบริการได้รับการดูแลต่อเนื่องจนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ระดับหนึ่ง หรือในบางรายอาจจะสามารถกลับมาดำเนินชีวิตประกอบอาชีพโดยตนเองได้ตามศักยภาพในที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพที่ถูกต้องโดยญาติ 2.เพื่อให้ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้

1.ร้อยละ85ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รบการดูแลฟื้นฟู สมรรถภาพที่ถูกต้องโดยญาติ ประเมินจากแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม 2. กลุ่มผู้พิการติดบ้าน ติดเตียง เปลี่ยนเป็นกลุ่มติดสังคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5ประเมิน จากแบบคัดกรอง ADL

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 4,750.00 1 4,750.00
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 จัดอบรมฝึกทักษะผู้ดูแล จำนวน 1 วัน 70 4,750.00 4,750.00

1 สำรวจข้อมูลสภาพปัญหาความต้องการของผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยติดเตียง 2 จัดอบรมฝึกทักษะผู้ดูแล จำนวน 1 วัน 3 จัดทำแผน/ฟื้นฟูฯ กลุ่มเป้าหมายรายบุคคลร่วมกับผู้ดูแล 4 ดำเนินการให้มีการดูแลกลุ่มเป้าหมายตามแผน 5 สรุปผลและประเมินผลกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 90 ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รบการดูแลฟื้นฟู สมรรถภาพที่ถูกต้องโดยญาติ
  2. ร้อยละ 90 ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง สามารถทำกิจวัตร ประจำวันด้วยตนเองได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2563 15:36 น.