กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ ”

ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางปฏิมา จ่าพันธุ์

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ

ที่อยู่ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 63-L5300-3-9 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 63-L5300-3-9 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 65,340.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล เป็นหน่วยงานที่ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการตั้งแต่แรกเกิด หรือแรกพบความพิการโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กพิการให้มีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์จิตใจสังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตให้พัฒนาเด็กไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดีมีวินัย และในปัจจุบัน สังคมไทยมุ่งเน้นการจัดระบบสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่ ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายโดยรัฐอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงมีการขับเคลื่อนการดำเนินการด้านกฎหมาย นโยบาย แผนงานต่าง ๆ แก่กลุ่มเป้าหมายเด็กพิเศษมากขึ้น หากแต่ในความเป็นจริงเราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ายังมีจำนวนเด็กพิเศษอีกไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของรัฐได้อย่างทั่วถึงในทุกระดับสังคม ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ เด็กพิเศษส่วนใหญ่ยังขาดการฟื้นฟูในทุกด้าน ขาดโอกาสในการเรียนรู้สู่สังคมภายนอก อันเนื่องมาจากครอบครัวเด็กพิเศษขาดความกล้าและขาดความมั่นใจในการพาเด็กพิเศษเหล่านั้นออกสู่สังคมภายนอกที่นอกเหนือจากบ้านพักและชุมชนในครอบครัวตัวเอง อีกทั้งสังคมส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจและขาดการยอมรับเด็กพิเศษเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลให้เด็กพิเศษเหล่านั้นไม่ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับช่วงวัยของเขาแต่ละบุคคล ขาดทักษะการดำรงชีวิตจากประสบการณ์จริงในการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งขาดกระบวนการเรียนรู้ในการเข้าสู่สังคม “ครอบครัวเด็กพิเศษ” เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็กพิเศษหากครอบครัวเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการพัฒนาเด็กพิเศษจากโลกภายนอก และจากประสบการณ์เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ย่อมส่งผลให้ครอบครัวเกิดกระบวนการเรียนรู้ มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อเด็กพิเศษมากขึ้น และหากเด็กพิเศษเองได้มีกระบวนการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ย่อมส่งผลให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับโอกาสในการพัฒนา เรียนรู้อย่างรอบด้านเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีกลุ่มครอบครัวเด็กพิเศษที่ยังขาดโอกาสในการมีส่วนเข้าร่วมกิจกรรมและขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งความรู้และการเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ ตลอดจนได้รับโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมการเรียนรู้ของเด็กและครอบครัวได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย ดังนั้นศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูลตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของเด็กพิเศษทั้ง ๙ ประเภทความพิการรวมทั้งเด็กพิเศษที่มีภาวะป่วยติดเตียงในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของครอบครัวเด็กพิเศษอย่างถูกต้องและเหมาะสม จึงริเริ่ม “โครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ” ขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษและครอบครัวเด็กพิเศษได้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างรอบด้าน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในการดูแลเด็กพิเศษต่อไป โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และสังคม ร่วมกันพัฒนาเด็กพิการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กพิการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล มีความรู้ในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพในเด็กพิการ
  2. เพื่อให้เด็กพิการติดเตียง ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล ได้รับสื่อ สิ่งอำนวย และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตรงตามความต้องการจำเป็นพิเศษ
  3. เพื่อให้ครอบครัวเด็กพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ร่วมกันกับครอบครัวอื่น ๆ ตลอดจนการเสริมสร้างกำลังใจที่ดีซึ่งกันและกันเสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านกิจกรรมเป็นตัวเชื่อม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดอบรมให้ความรู้การดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัยในเด็กพิการ และตรวจสุขภาพให้กับเด็กพิการ
  2. จัดอบรมการผลิตสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้กับเด็กพิการติดเตียงเพื่อใช้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 50
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต ๑. เด็กพิการและผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและจิตใจโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากกิจกรรม ร้อยละ ๑๐๐ ๒. เด็กพิการติดเตียง กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพด้านร่างกาย จากสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาร้อยละ ๑๐๐ ผลลัพธ์ ๑. กลุ่มเป้าหมายโครงการ เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการฟื้นฟู พัฒนาและส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายอารมณ์สังคมและสติปัญญา
๒. เด็กพิการครอบครัวเด็กพิการ กลุ่มเป้าหมาย และบุคลากรภายในศูนย์การศึกษาพิเศษ มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และมีความมั่นใจมากขึ้นในการพาเด็กพิการออกสู่สังคมภายนอก และสังคมมีโอกาศได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กพิการ ๓. เด็กพิการ กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลช่วยเหลือ และส่งเสริมสุขภาพอานามัยอย่างถูกวิธี


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดอบรมให้ความรู้การดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัยในเด็กพิการ และตรวจสุขภาพให้กับเด็กพิการ

วันที่ 20 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

๑. ประชุมคณะครูและเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมการและกำหนดกิจกรรมดำเนินการ ๒. จัดอบรมให้ความรู้การดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัยในเด็กพิการ และตรวจสุขภาพให้กับเด็กพิการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต ๑. เด็กพิการและผู้ปกครอง  กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม  และจิตใจ  โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากกิจกรรม ร้อยละ ๑๐๐   ผลลัพธ์ ๑. กลุ่มเป้าหมายโครงการ เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการฟื้นฟู พัฒนาและส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา
๒. เด็กพิการ  ครอบครัวเด็กพิการ กลุ่มเป้าหมาย และบุคลากรภายในศูนย์การศึกษาพิเศษ มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และมีความมั่นใจมากขึ้นในการพาเด็กพิการออกสู่สังคมภายนอก และสังคมมีโอกาสได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กพิการ ๓. เด็กพิการ กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลช่วยเหลือ และส่งเสริมสุขภาพอนามัยอย่างถูกวิธี

 

0 0

2. จัดอบรมการผลิตสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้กับเด็กพิการติดเตียงเพื่อใช้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย

วันที่ 25 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดอบรมการผลิตสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลือให้กับเด็กพิการติดเตียงเพื่อใช้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย
  2. สรุปและรายงานผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1. เด็กพิการติดเตียง กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพด้านร่างกาย จากสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลืออื่น ๆ  ร้อยละ ๑๐๐   ผลลัพธ์ ๑. กลุ่มเป้าหมายโครงการ เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการฟื้นฟู พัฒนาและส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา
๒. เด็กพิการ  ครอบครัวเด็กพิการ กลุ่มเป้าหมาย และบุคลากรภายในศูนย์การศึกษาพิเศษ มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และมีความมั่นใจมากขึ้นในการพาเด็กพิการออกสู่สังคมภายนอก และสังคมมีโอกาสได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กพิการ ๓. เด็กพิการ กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลช่วยเหลือ และส่งเสริมสุขภาพอนามัยอย่างถูกวิธี

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กพิการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล มีความรู้ในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพในเด็กพิการ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กพิการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล มีความรู้ในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพในเด็กพิการ
100.00 100.00 100.00

 

2 เพื่อให้เด็กพิการติดเตียง ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล ได้รับสื่อ สิ่งอำนวย และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตรงตามความต้องการจำเป็นพิเศษ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ ๑๐๐ เด็กพิการติดเตียง ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล ได้รับสื่อ สิ่งอำนวย และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตรงตามความต้องการจำเป็นพิเศษ
100.00 100.00 100.00

 

3 เพื่อให้ครอบครัวเด็กพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ร่วมกันกับครอบครัวอื่น ๆ ตลอดจนการเสริมสร้างกำลังใจที่ดีซึ่งกันและกันเสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านกิจกรรมเป็นตัวเชื่อม
ตัวชี้วัด : ร้อยละ ๑๐๐ ครอบครัวเด็กพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ร่วมกันกับครอบครัวอื่น ๆ โดยผ่านกิจกรรมเป็นตัวเชื่อม
100.00 100.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 50 50
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กพิการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล  มีความรู้ในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพในเด็กพิการ (2) เพื่อให้เด็กพิการติดเตียง ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล ได้รับสื่อ สิ่งอำนวย และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตรงตามความต้องการจำเป็นพิเศษ (3) เพื่อให้ครอบครัวเด็กพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ร่วมกันกับครอบครัวอื่น ๆ ตลอดจนการเสริมสร้างกำลังใจที่ดีซึ่งกันและกันเสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านกิจกรรมเป็นตัวเชื่อม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดอบรมให้ความรู้การดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัยในเด็กพิการ และตรวจสุขภาพให้กับเด็กพิการ (2) จัดอบรมการผลิตสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้กับเด็กพิการติดเตียงเพื่อใช้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 63-L5300-3-9

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางปฏิมา จ่าพันธุ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด