กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์โฟเลท ด้วยวิตามินแสนวิเศษ
รหัสโครงการ 63-L6957-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบือเระ
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 2,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เสาวนีย์ ปาวัล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.539,101.693place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาโฟเลท
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความพิการแต่กำเนิดองค์การอนามัยโลกทำการสำรวจความพิการแต่กำเนิดในทารกทั่วโลกพบว่า ทารกมีความพิการแต่กำเนิด 3-5% หรือ ปีละประมาณ 8 ล้านคน จากทารกที่คลอดประมาณ 130 ล้านคนต่อปี โดยความพิการแต่กำเนิดแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ความพิการทางด้านโครงสร้างของร่างกาย เช่น คลอดออกมาแล้วเป็นโรคหัวใจ ปากแหว่งเพดานโหว่ แขนขาขาด และ 2. ความพิการของการทำงานในหน้าที่และภาวะร่างกาย เช่น มีภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง หรือกลุ่มโรคโลหิตจางซึ่งภาวะนี้ส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับครอบครัวของทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด ภาระของครอบครัวที่แบกรับ รวมถึงผลกระทบต่อจิตใจของบิดา มารดา ที่มีทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด จนถึงปัญหาในระดับประเทศโดยเฉพาะในด้านค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทารกกลุ่มนี้ความพิการแต่กำเนิดนั้นเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ โดยเฉพาะการเสริมวิตามินโฟเลต หรือ โฟลิกแอซิด (Folic Acid) ให้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนการตั้งครรภ์ ประโยชน์ของโฟลิกแอซิด หากมารดาที่มีโฟเลตต่ำกว่ามาตรฐาน สารดีเอ็นเอ จะไม่เพียงพอต่อการสร้างเซลล์เนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ ของทารกได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้เด็กที่เกิดมามีความพิการ
      ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่หญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคนที่มีโอกาสตั้งครรภ์ ควรกินวิตามินโฟเลต หรือ โฟลิกแอซิด ทุกวัน วันละ 1 เม็ดหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ เม็ด ที่สำคัญจะต้องรับประทานในช่วงก่อน 6 สัปดาห์ หรือ 1-2 เดือนก่อนตั้งครรภ์ จนถึงตั้งครรภ์ครบ 3 เดือน แต่หากยังไม่ตั้งครรภ์ก็ให้กินต่อไปเรื่อยๆ       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือเระได้ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันความพิการแต่กำเนิดจึงได้จัดทำโครงการป้องกันความพิการแต่กำเนิดขึ้น ตามนโยบายโครงการส่งเสริมสาวไทยแก้มแดง มีลูกเพื่อชาติด้วยวิตามินแสนวิเศษ เพื่อตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาโฟเลทอย่างทั่วถึง

๑.หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับยาโฟเลท ร้อยละ๕๐ ๒.หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาโฟเลท ร้อยละ๑๐๐ ๓.ไม่มีทารกแรกเกิดพิการปากแหว่งเพดานโหว่และ แขนขาขาด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 รณรงค์โฟเลทในหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ 0 2,450.00 2,450.00
รวม 0 2,450.00 1 2,450.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2563 11:32 น.