กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุม เฝ้าระวัง ป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
รหัสโครงการ 63 – L5168 -5-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลโคกม่วง
วันที่อนุมัติ 26 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสหรัฐ ทองเพิ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ นายอนุชา ตันปิติกร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 เม.ย. 2563 7 เม.ย. 2563 100,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 3000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 2000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019(Covid-19)
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สาธารณภัย ตามความหมายในพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 4 หมายถึง อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติมีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึง ภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วยองค์การอนามัยโลก (2002) ได้ให้ความหมายของสาธารณภัยว่า หมายถึง เหตุการณ์ใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย การทำลายสิ่งแวดล้อม การสูญเสียชีวิตหรือความต้องการบริการด้านสุขภาพที่เกินขีดความสามารถของหน่วยงานที่มีอยู่ในพื้นที่ประสบภัย และจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกพื้นที่ สมโภช รติโอฬาร และสุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์ (2553: 26-27) ให้ความหมายของสาธารณภัย ไว้ว่า สาธารณภัย หมายถึง ภัยหรืออันตรายที่ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งมนุษย์ ทรัพย์สินและสิ่งอื่นๆ อย่างรุนแรง และส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก และเกินขีดความสามารถของหน่วยบริการด้านสวัสดิภาพทางสังคม ในพื้นที่นั้นๆในการดำเนินการระงับและแก้ไขภัยนั้นได้โดยลำพัง สำนักงานเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ องค์การสหประชาชาติ (2012) ให้ความหมายของสาธารณภัย ว่า หมายถึง เหตุการณ์ขั้นวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางซึ่งไม่สามารถแก้ไขหรือป้องกัน ได้ด้วยวิธีการปกติและต้องใช้กระบวนการพิเศษในการฟื้นฟูเพื่อ ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ สาธารณภัยอาจเกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดเดาถึงเวลา สถานที่ หรือความรุนแรงของเหตุการณ์ หรืออาจสามารถคาดเดาเวลา สถานที่และความรุนแรงของเหตุการณ์ได้ โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาร่วมในการทำนาย เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สิน แต่ไม่สามารถลดความรุนแรงของภัยนั้นๆ ได้สรุปได้ว่า สาธารณภัย หมายถึง เหตุการณ์ใดๆ ที่ไม่สามารถคาดการณ์สถานที่ เวลา และความรุนแรงได้แน่นอนและเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินในวงกว้าง และเหตุการณ์ดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขและป้องกันได้ โดยหน่วยงานในพื้นที่หรือวิธีการปกติ ต้องใช้วิธีการพิเศษและบูรณาการการทำงานของหน่วยงานในการฟื้นฟูเพื่อให้กลับสู่สภาพเดิม สาธารณภัยไม่สามารถลดความรุนแรงได้ แต่สามารถใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมในการทำนาย เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสาธารณภัยนั้นๆ ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาป้องกันกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ จึงได้จัดให้มีโครงการดังกล่าว ขึ้น

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโครนา หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตายไม่ได้สูงมากนักเพียง 1-3% ร้อยแรงน้อยกว่า SAR ซึ่งมีอัตราการตาย 10 % ดังนั้น มาตการการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 นั้นถือว่าจำเป็น ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่มีคนพลุกล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮออล์เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการ การไม่นำเอามือมาป้ายหรือ จับหน้า ความรู้และเข้าใจการดำเนินไปของโรค เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งปัจจุบันที่ในพื้นที่ตำบลโคกม่วง มีผู้ที่กลับมาจากกรุงเทพและปริมณฑลหลายรายและถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวัง อีกทั้งในพื้นที่อำเภอคลองหอยโข่ง มีผู้ป่วยยืนยันเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) จึงจำเป็นต้องดำเนินโครงการควบคุมเฝ้าระวัง ป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ภัยพิบัติ ได้อย่างทันท่วงที ทันต่อสถานการณ์

ร้อยละ 100 ของครัวเรือนได้รับการช่วยเหลือปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้น ได้อย่างทันต่อเหตุการณ์

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดี มีพฤติกรรมสุขภาพเหมาะสม สามารถควบคุมและลดปัจจัยเสี่ยงต่อ ภัยพิบัติ และภัยสุขภาพ

ร้อยละ 100 ของครัวเรือนได้รับการช่วยเหลือปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคระบาดหรือภัยพิบัติ โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ เป็นต้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 13424 100,000.00 0 0.00
8 เม.ย. 63 จัดทำหน้ากากผ้าให้เพียงพอสำหรับประชาชนในพื้นที่ 5,614 48,805.00 -
16 เม.ย. 63 กิจกรรมการคัดกรองและกำจัดควบคุมการระบาด 7,810 51,195.00 -
  1. จัดประชุมคณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
  3. จัดทำหน้ากากผ้าให้เพียงพอสำหรับประชาชนในพื้นที่
  4. จัดซื้อเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ สำหรับหน่วยบริการ อสม. ผู้ดูแลผู้ป่วย กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ ประชาชนนกลุ่มเสี่ยง วัด โรงเรียน ศพด.
  5. จัดให้มีจุดคัดกรอง ณ หน่วยบริการ หรือที่ที่มีคนพลุกพล่าน คัดกรองกลุ่มเสี่ยง
  6. ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ภัยพิบัติ ได้อย่างทันท่วงที ทันต่อสถานการณ์
  2. ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดี มีพฤติกรรมสุขภาพเหมาะสม สามารถควบคุมและลดปัจจัยเสี่ยงต่อ ภัยพิบัติ และภัยสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2563 11:46 น.