โครงการมะเร็งป้องกันได้ถ้าหญิงไทยใส่ใจสุขภาพ (ต่อเนื่อง)
ชื่อโครงการ | โครงการมะเร็งป้องกันได้ถ้าหญิงไทยใส่ใจสุขภาพ (ต่อเนื่อง) |
รหัสโครงการ | 63-L8015-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 22 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2563 |
งบประมาณ | 20,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุธาทิพย์ จันทคาร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.689,101.142place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีทั่วโลก รองลงมาจากมะเร็งเต้า นม สำหรับในประเทศไทยมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในมะเร็งของสตรีไทย สาเหตุของ มะเร็งปากมดลูกที่แท้จริงไม่ทราบแน่นอน แต่สาเหตุสำคัญเท่าที่วิทยาการทางการแพทย์ตรวจพบได้ในปัจจุบัน คือ การติดเชื้อ human papilloma virus หรือ HPV บริเวณปากมดลูก เป็นสาเหตุจำเพาะของมะเร็ง ปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เป็นเพียงปัจจัยส่งเสริมทำให้ปากมดลูกมีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้มากขึ้นหรือ ง่ายขึ้น เช่นการมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย หรือการตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อย มะเร็งปาก มดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย และจะมีอัตราการเสียชีวิต เกินครึ่งหนึ่งเลย ทีเดียว และเป็นต้นเหตุทำให้ผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตมากกว่าปีละ 270,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 650 คน โดยมีสถิติของผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน แต่โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถรักษาให้หาย และมีความ เป็นไปได้ในการที่จะกำจัดให้หมดไปจากประเทศไทย หากตรวจพบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก หรือระยะ ก่อนเป็นมะเร็ง ปัญหาสำคัญคือ คนไทยร้อยละ 50 มักไปพบแพทย์ขณะที่โรคลุกลามแล้ว ซึ่งยากต่อการ รักษาให้หาย ผู้ป่วยมักเสียชีวิต รวมทั้งเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมาก ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ จึงเห็นความสำคัญของการป้องกันการเกิดมะเร็ง ปากมดลูกโดยการตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งปากมดลูกในสตรีเป้าหมายกลุ่มอายุ 30-60 ปี จากการ ดำเนินงานปี 2558 มีกลุ่มเป้าหมาย 555 คน ได้รับการคัดกรอง 111 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ผ่านเกณท์ เจอเซลล์ผิดปกติ 1 ราย ได้ส่งรับการส่งต่อโรงพยาบาลปัตตานี พบติดเชื้อรา 13 ราย ได้รายงานแพทย์สั่งยา รักษาทั้ง 13 ราย พบการอักเสบ 16 ราย ซึ่งได้นัดตรวจซ้ำอีก 6 เดือน ในปี 2559 มีกลุ่มเป้าหมาย 640 คน ได้รับการคัดกรอง 128 คน ผ่านเกณท์ 20 % ไม่พบเซลส์ผิดปกติ แต่พบมีการอักเสบ 23 ราย ติดเชื้อราและแบคทีเรีย 13 ราย ไดัรับยาทั้งหมด 36 ราย คิดเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ ปี 2560 มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 450 คน ได้รับคัดกรอง 90 คน คิดเป็นร้อยละ 20 พบความผิดปกติเต้านม 1 ราย ได้ส่งต่อโรงพยาบาลโคกโพธิ์ ส่วนผลมะเร็งปากมดลูกกำลังดำเนินการอ่านผลที่โรงพยาบาลโคกโพธิ์ใน ปี 2561 มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 395 คน ได้รับการคัดกรองทั้งหมด 79 คน คิดเป็นร้อยละ 20 พบความผิดปกติของเซลส์มะเร็ง 3 ราย ได้ส่งต่อโรงพยาบาลปัตตานีเพื่อทำการรักษาต่อและยืนยันผล ในปี 2562 มีกลุ่มเป้าหมาย 375 คน ต้องได้รับการคัดกรอง 75 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ในปี 2563 มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 400 คน ต้องได้รับคัดกรอง 80 คน ถึงจะผ่านร้อยละ 20
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้สตรี อายุ 30 ถึง 60 ปี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ร้อยละ 100 สตรี อายุ 30 ถึง 60 ปี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม |
0.00 | |
2 | 2.เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกและสามารถคัดกรองเต้านมด้วยตนเองได้ ร้อยละ 100 สตรีกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกและสามารถคัดกรองเต้านมด้วยตนเองได้ |
0.00 | |
3 | 3.สตรีอายุ 30 ถึง 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 สตรีอายุ 30 ถึง 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 จากทั้งสิ้น 400 คน คือ 80 คนในปี 2563 |
0.00 | |
4 | 4.เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ 100 สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
22 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 | อบรมให้ความรู้และตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม | 80 | 20,600.00 | - | ||
รวม | 80 | 20,600.00 | 0 | 0.00 |
1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.และกลุ่มเป้าหมายที่ อสม.รับผิดชอบ
2.รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการร่วมกับ อสม.แจกเอกสารแผ่นพับในชุมชนเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
3.อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
4.จัดคลินิกให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกวัน
5.สรุปและประเมินผลโครงการ
1.สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตระหนักถึงการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
2.สตรีวัยเจริญพันธ์อายุ 30 ถึง 60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
3.สตรีที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการ รักษาที่ถูกต้องเหมาะสมร้อยละ 100
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2563 14:46 น.