กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 63-L5191-5-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC) ตำบลปากบาง
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 200,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทรงพล พันธนียะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 เม.ย. 2563 30 ก.ย. 2563 200,000.00
รวมงบประมาณ 200,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งยอมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมือปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้ว่าเป็นเชื้อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลกมีรายงานผู้ป่วยยืนยัน รวม 200 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 นครรัฐ เรือ Diamond Princess เรือ Grands Princess และเรือ MS Zaandam จำนวน 861,113 ราย มีอาการรุนแรง 33,092 รายเสียชีวิต 42,385 ราย โดยประเทศที่มียอดผู้ป่วยยืนยัน 10 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 188,592 ราย อิตาลี 105,792 ราย สเปน 95,923 ราย จีน 82,310 ราย (รวม ฮ่องกง 715 ราย มาเก๊า 41 ราย) เยอรมนี 71,808 ราย ฝรั่งเศส 52,128 ราย อิหร่าน 44,605 ราย สหราชอาณาจักร 25,150 ราย สวิสเซอร์แลนด์ 16,605 ราย และตุรกี 13,531 ราย ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 1 เมษายน 2563 (18.00 น.) สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล ขณะนี้พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 1,771 ราย รักษาหายและแพทย์ให้กลับบ้าน 505 ราย ผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต 12 ราย ผลตรวจผู้ป่วยที่มีอาการตามนิยามเฝ้าระวังที่เหลือ 19,832 ราย ตรวจไม่พบเชื้อ 17,713 ราย และอยู่ระหว่างรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ 2,119 ราย ผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่พบในประเทศไทย มีค่ามัธยฐานของอายุเท่ากับ 34 ปี(5 เดือน - 84 ปี) เพศชาย 963 ราย สัญชาติไทย 1,486 ราย จีน 31 ราย ฝรั่งเศส 16 ราย อังกฤษ 15 ราย ประวัติโรคประจำตัวที่พบ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง (12 ราย) ภูมิแพ้ (7 ราย) เบาหวานและความดันโลหิตสูง (7 ราย) หอบหืด (7 ราย) เบาหวาน  (5 ราย) ความดันโลหิตสูง หัวใจโต และเกาต์ (1 ราย) ปอดอุดกั้นเรื้อรัง (1 ราย) เบาหวานและไขมันในเลือดสูง (1 ราย) (ข้อมูลจาก : รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
จังหวัดสงขลามีผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 29 ราย มีผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังโรค 341 ราย ตรวจไม่พบเชื้อ 274 ราย รอผลตรวจ 38 ราย แยกเป็นรายอำเภอ คือ อำเภอหาดใหญ่ 11 ราย อำเภอจะนะ 6 ราย อำเภอเทพา 3 ราย อำเภอระโนด 1 ราย อำเภอเมือง 1 ราย อำเภอบางกล่ำ 1 ราย คลองหอยโข่ง 1 ราย ต่างจังหวัด 3 ราย อำเภอเทพาพบผู้ป่วยยืนยัน 3 ราย เป็นคนที่เดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเชีย มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังโรค 9 ราย ตรวจไม่พบเชื้อ 4 ราย รอผลตรวจ 2 ราย ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ในชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC) ตำบลปากบาง จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง
    ดังนั้น ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC) ตำบลปากบาง จึงได้จัดทำโครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพื่อควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 200,000.00 1 200,000.00
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 การคัดกรองโรคและเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) ของประชาชนในเขตตำบลปากบาง 0 200,000.00 200,000.00

๑. ระยะเตรียมการ - วางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ       - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ       - ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง       - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน ๒. ระยะดำเนินการ   - ตั้งจุดตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 (COVID-19)
- จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
    ๓. ระยะหลังดำเนินการ - สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีด่านตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19)
  2. ลดความตื่นตระหนักของประชาชนและสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรค
  3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาดได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2563 16:45 น.