โครงการ บำบัดกลุ่มเสี่ยงสารเคมีด้วยวิธีการอบสมุนไพร
ชื่อโครงการ | โครงการ บำบัดกลุ่มเสี่ยงสารเคมีด้วยวิธีการอบสมุนไพร |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต |
วันที่อนุมัติ | 19 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 4,230.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางดารุณี มากแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.ค. 2563 | 31 ส.ค. 2563 | 4,230.00 | |||
2 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 4,230.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่นการรักษาโรคด้วยสมุนไพร การออกกำลังกายด้วยกายบริหารฤๅษีดัดตน การนวด อบ และประคบด้วยสมุนไพร การรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติบำบัด การทำสมาธิบำบัด การฝึกโยคะเพื่อสุขภาพ เป็นต้น เมื่อมีการนำองค์ความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วน่าจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของประชาชน และ ยังตอบสนองยุทธศาสตร์แห่งชาติในการรวมพลังสร้างสุขภาพเพื่อให้คนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง ( Healthy Thailand ) การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกำลังได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนทั่วไป โดยได้เปิดให้บริการการแพทย์แผนไทยหลายรูปแบบ ปัจจุบันงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ได้เปิดให้บริการ นวดรักษาโรค,นวดเพื่อสุขภาพ,ประคบสมุนไพร,อบสมุนไพร, ดูแลแม่หลังคลอด บริการประชาชน ผู้รับบริการส่วนใหญ่จะมีปัญหาระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อต่างๆ แต่ยังมีกลุ่มผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าจะได้รับการดูแลด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยโดยวิธีการอบสมุนไพร คือ กลุ่มผู้ป่วยที่พบอัตราเสี่ยงสารเคมีในเลือด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรง และสูง ในปีงบประมาณ 2562 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตได้มีการเจาะเลือดเกษตรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ร้อยละ ๖๗.๙๖ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๑ พบว่า ปกติ ร้อยละ ๗.๑๔ ปลอดภัย ร้อยละ ๑๗.๑๔ เสี่ยง ร้อยละ ๔๕.๗๒ และไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๓๐.๐๐ กรณีพบว่า เสี่ยงและไม่ปลอดภัยในครั้งที่ ๑ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๒ พบว่า ปกติ ร้อยละ ๑๓.๓๓ ปลอดภัย ร้อยละ ๒๖.๖๗ เสี่ยง ร้อยละ ๕๓.๓๓ และไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๖.๖๗ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต เห็นว่า เป็นสิ่งสำคัญในการบำบัดผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยให้ผู้ป่วยเลือกใช้บริการรักษาด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นการลดค่ารักษาพยาบาลในหน่วยรับบริการสาธารณสุข นอกจากนี้ยังเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูการใช้ภูมิปัญญาของคนไทย เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยอีกด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อบุคคลกลุ่มเสี่ยงสารเคมีในเลือดลดลงอย่างน้อย 1 ระดับ บุคคลกลุ่มเสี่ยงสารเคมีในเลือดลดลงอย่างน้อย 1 ระดับ |
1.00 |
กิจกรรมการให้ความรู้ เรื่อง อยู่อย่างไรไห้ปลอดสารเคมี และบำบัดกลุ่มเสี่ยงโดยวิธีการอบสมุนไพร
บุคคลกลุ่มเสี่ยงสารเคมีในเลือดลดลงอย่างน้อย 1ระดับ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2563 13:49 น.