กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตำบลปันแตร่วมใจ รณรงค์คัดแยกขยะ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 36,255.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดารุณี แก้วมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 6 บ้านในไร่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 36,255.00
รวมงบประมาณ 36,255.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกัน    เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในชุมชนทุกระดับชั้น ลักษณะของปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการจัดการขยะไม่ถูกวิธี หรือมีขยะมากจนไม่สามารถดำเนินการจัดเก็บ หรือเก็บขน หรือกำจัดให้หมดในวันเดียว  ขยะจึงตกค้างในชุมชน ซึ่งสาเหตุหลัก คือ การเพิ่มอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นและเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบหลาย ๆ ด้าน ชุมชนหมู่ที่ 6 บ้านในไร่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 227 ครัวเรือน นับเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่ประสบปัญหาการจัดการขยะในชุมชน จากการสำรวจปริมาณขยะของชุนบ้านในไร่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พบว่า มีปริมาณขยะของแต่ละครัวเรือนประมาณ 6 กิโลกรัม/สัปดาห์ แยกชนิดเป็นขยะแห้ง 2 กิโลกรัม ขยะเปียก 3.8 กิโลกรัม และขยะอื่น ๆ 0.2 กิโลกรัม จากการที่ประชาชนยังขาดความรู้ขาดแนวทางการจัดการขยะที่ถูกต้อง จึงทำให้มีปัญหาขยะเพิ่มขึ้นมากขึ้น โดยจากผลการศึกษาของชุมชนพบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่คัดแยกขยะไม่ถูกวิธี ขยะก็จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคต่าง ๆ ซึ่งพบว่าครัวเรือนมีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคต่าง ๆ ร้อยละ 93.12 ซึ่งส่งผลกระทบกับคนในครอบครัว เช่น โรคไข้เลือดออก ซึ่งพบว่าในชุมชนบ้านในไร่ หมู่ที่ 6  บ้านในไร่ มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งโรคไข้เลือดออกนั้นมีความรุนแรงที่อาจจะทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้
ทางชุมชนบ้านในไร่ หมู่ที่ 6 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการจัดการขยะในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้/ความตระหนัก และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดขยะที่ถูกต้องตลอดจนลดปริมาณขยะในชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่ชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้การคัดแยกขยะในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้นำไปสู่ขั้นตอนปฏิบัติระดับบุคคล และครอบครัว โดยการคัดแยกขยะตามประเภทต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย โดยมีการจัดตั้งศูนย์คัดแยกขยะรีไซเคิล การผลิตน้ำหมักจากขยะอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษผักและเศษอาหาร เป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ใหม่เพื่อทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์สูงสุด ที่สำคัญชุมชนมีกฎกติกาด้านการลดขยะที่เริ่มจากตัวเรา จะเป็นตัวปลูกฝังระดับปัจเจกบุคคล หากมีการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ย่อมเกิดผลให้ชุมชนมีปริมาณขยะที่ลดน้อยลง สามารถเป็นชุมชนนำร่องด้านการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตามนโยบายเมืองพัทลุง เมืองสีเขียว ต่อไปและลดปัญหาของโรคไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และตระหนักในการจัดการขยะ 2.เพื่อให้ครัวเรือมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ 3.เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน

1.มีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 50 ครัวเรือน 2.ครัวเรือนสามารถลงมือปฏิบัติบันทึกระบุวิธีการคัดแยกขยะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50 ครัวเรือน 3.ครัวเรือนไม่น้อยกว่า 50 หลังคาเรือนมีการคัดแยกขยะ 4.มีครัวเรือนต้นแบบเกิดขึ้นอย่างน้อย 10 ครัวเรือน 5.มีการรวบรวมขยะส่งขายเดือนละ 1 ครั้ง 6.ชุมชนมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน อย่างน้อย 3 เรื่่อง 7.ปริมาณขยะในชุมชนหลังดำเนินการน้อยกว่าก่อนดำเนินการ ร้อยละ80

1.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 320 33,895.00 9 17,895.00
1 มิ.ย. 63 จัดเวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผน ดำเนินงานร่วมกัน 25 625.00 625.00
5 มิ.ย. 63 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะ ในชุมชน 25 715.00 715.00
8 มิ.ย. 63 สำรวจและจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนและหลังดำเนินการ รวม 2 ครั้ง 0 0.00 0.00
8 มิ.ย. 63 ประชุมครัวเรือนชี้แจงโครงการเปิดรับสมัครครัวเรือนเป้าหมาย 0 0.00 0.00
1 ก.ค. 63 อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์ 55 16,000.00 0.00
10 ก.ค. 63 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน 55 6,125.00 6,125.00
28 ส.ค. 63 เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ” 100 2,500.00 2,500.00
28 ส.ค. 63 จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการในการลดการนำขยะในชุมชน เพื่อยกร่างกฎกติกาของชุมชน ขอมติและประกาศใช้ในชุมชน 60 3,900.00 3,900.00
31 ส.ค. 63 ประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ 0 4,030.00 4,030.00

กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผนดำเนินงานร่วมกัน -แบ่งหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานร่วมกัน -กำหนดแผนการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม -ติดตามประเมินผลเป็นระยะ ๆ

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะในชุมชน -เก็บข้อมูลครอบคลุมตามแบบสำรวจ -แบ่งหน้าที่การจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่ กิจกรรมที่ 3 สำรวจและจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนและหลังดำเนินการ รวม 2 ครั้ง -สำรวจข้อมูลขยะครัวเรือน -รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล กิจกรรมที่ 4 ประชุมครัวเรือนชี้แจงโครงการเปิดรับสมัครครัวเรือนเป้าหมาย -คณะทำงานเข้าร่วมประชุมประจำเดือนชี้แจงโครงการ -เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์ -การคัดแยกขยะ -การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ -การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากมูลสัตว์ -ทำตะกร้าลดโรคร้อน กิจกรรมที่ 6 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง -เก็บกวาดขยะในชุมชนให้เป็นชุมชนที่มีความสะอาดไม่มีขยะตามที่สาธารณะ -รณรงค์การใช้ตะกร้าไปจ่ายตลาด-รณรงค์การคัดแยกขยะ -ใช้สื่อทางหอกระจายข่าวของหมู่บ้านประชาสัมพันธ์


กิจกรรมที่ 7 เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ” -แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจากตัวแทนครัวเรือนนำร่องในชุมชน -จัดบูธนำเสนอครัวเรือนต้นแบบที่ได้จากการประกวดให้ชุมชนทราบ -ประกาศผลรางวัลสิ่งประดิษฐ์จากขยะ -จัดบูธนำเสนอการดำเนินงานทุกกิจกรรมที่ผ่านมา กิจกรรมที่ 8 จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการในการลดการนำขยะในชุมชน เพื่อยกร่างกฎ -ร่วมกำหนดมาตรการชุมชน - กำหนดจุดรวบรวมขยะเพื่อนำไปขาย กิจกรรมที่ 9ประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ -คณะทำงานกำหนดเกณฑ์การประกวด - ลงพื้นที่ประเมินครัวเรือน - ตัดสินการประกวด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 50 ครัวเรือน 2.ครัวเรือนสามารถลงมือปฏิบัติบันทึกระบุวิธีการคัดแยกขยะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50 ครัวเรือน 3.ครัวเรือนไม่น้อยกว่า 50 หลังคาเรือนมีการคัดแยกขยะ 4.มีครัวเรือนต้นแบบเกิดขึ้นอย่างน้อย 10 ครัวเรือน 5.มีการรวบรวมขยะส่งขายเดือนละ 1 ครั้ง 6.ชุมชนมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน อย่างน้อย 3 เรื่่อง 7.ปริมาณขยะในชุมชนหลังดำเนินการน้อยกว่าก่อนดำเนินการ ร้อยละ80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2563 14:37 น.