กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้เท่าทัน ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 63-L6957-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคลอแระ
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 19,990.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุทธิมา โตะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.539,101.693place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 749 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสร้างสมรรถนะ ให้คนเรามีความสามารถเพิ่มขึ้นในการควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลมีสุขภาพดีขึ้น การส่งเสริมสุขภาพ เป็นการเอื้ออำนวยให้มีสภาวะร่างกาย จิตใจ และความเป็นอยู่ในสังคมที่สมบูรณ์ บุคคล หรือชุมชนสามารถระบุสิ่งที่จำเป็น ในการที่จะบรรลุการมีสุขภาพดี และในการเปลี่ยน หรือการจัดสิ่งแวดล้อมสุขภาพนั้น ถือเป็นแนวความคิดด้านบวกที่เน้นทรัพยากรทางสังคมและส่วนบุคคลมาก เท่ากับเน้นความสามารถทางกาย โดยนัยนี้ การส่งเสริมสุขภาพจึงไม่ใช่เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานด้านสุขภาพเท่านั้น แต่รวมไปถึงการที่ประชาชนมีการปฏิบัติให้เกิดวิถีชีวิตที่ดี เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี
กระทรวงสาธารณสุข  และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  จึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยมีเป้าหมายประชากรกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปทุกราย ต้องได้รับการตรวจคัดกรอง ด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม (Verbal Screening) การวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูง และการวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง และค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น โดยบุคลากรสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้าน เพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง
  การคัดกรองและป้องกันความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีเป้าหมายสำคัญ คือสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจึงเน้นกิจกรรมในส่วนของงานบริการเชิงรุก จากการดำเนินการคัดกรองในปี ๒๕๖2 พบว่าประชากรได้รับการคัดกรองความดัน ร้อยละ ๙๔.97 พบกลุ่มเสี่ยงจำนวน 218 คนคิดเป็นร้อยละ 32.11 กลุ่มเสี่ยงสูงจำนวน 69 คนคิดเป็นร้อยละ 10.16 และได้รับการคัดกรองเบาหวาน ร้อยละ ๙6.02 พบกลุ่มเสี่ยงจำนวน 262 คนคิดเป็นร้อยละ 31.04 กลุ่มเสี่ยงสูงจำนวน 16 คนคิดเป็นร้อยละ 1.90 มีกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๕0.28 โดยกลุ่มเสี่ยงที่กลายเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 7 รายคิดเป็นร้อยละ 10.14 และกลุ่มเสี่ยงที่กลายเป็นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 25 จากปัญหาดังกล่าวหากได้มีการตรวจค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มต้น จะเป็นการช่วยให้กลุ่มเสี่ยงรู้จักวิธีการปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องจะช่วยลดการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยรายใหม่และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคอื่นๆที่จะตามมาได้เป็นอย่างมาก จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการรู้เท่าทัน ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักและเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ชิด พร้อมเป็นการเพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงสุขภาพจิตดีเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่จะเกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแยกประชากรตามกลุ่ม(กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย)

-คัดกรองผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานกลุ่มอายุ ๓๕ ปี ร้อยละ ๙๐

0.00
2 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลตนเอง

กลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ ๕๐

0.00
3 เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้อง

ให้การรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานตามระบบการรักษาครอบคลุม ร้อยละ ๑๐๐

0.00
4 เพื่อให้ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามแนวทางที่กำหนด

กลุ่มเสี่ยงสเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ ๕๐

0.00
5 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปานกลาง/ เสี่ยงสูงได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

กลุ่มเสี่ยงสูงความดันโลหิตสูง/เบาหวานได้รับการส่งต่อร้อยละ 10๐

0.00
6 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงสูงความดันโลหิตสูง/เบาหวานเป็นผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกินร้อยละ ๑๐/๕

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 8335 19,990.00 3 19,990.00
18 ม.ค. 64 จัดซื้อแผ่นตรวจน้ำตาลในเลือด 795 7,490.00 7,490.00
18 ม.ค. 64 จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตสูง 7,490 10,000.00 10,000.00
18 ม.ค. 64 ติดตามกลุ่มเสี่ยงสูงจาการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 50 2,500.00 2,500.00

ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์ของโครงการ ๒. จัดทำแผนกำหนดวันปฏิบัติงาน ๓. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ ๔. แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ

ขั้นดำเนินการ ๑. ฟื้นฟูทักษะการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงแก่ อสม.ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการตรวจติดตาม กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง ๒. ตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายและติดตามผู้มีภาวะเสี่ยงเบาหวานและความดันซ้ำโดยทีมอสม. ๓. ติดตามเยี่ยมผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ขั้นสรุปผลโครงการ ๑.สรุปผลการคัดกรองกลุ่มผู้มีภาวะเสี่ยงตามกิจกรรมโครงการ ๒.รายงานผลการดำเนินโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ ๙๐ ๒. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง ๓. ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้ ๔. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม อย่างต่อเนื่อง ๕. อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2563 15:19 น.