กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หมู่ที่ 8 บ้านอุไร
รหัสโครงการ 2563 – L8010 – 5 – 08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 22,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยได้เกิดสถานการณ์กรณีโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 [ Coronavirus Disease 2019 (COVID 19)] ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคมีการเปลี่ยนแปลงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นไปหลายประเทศทั่วโลกและภูมิภาคเอเชีย จำนวนผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และขณะนี้มีหลักฐานการติดต่อจากคน สู่คน และพบมีการระบาดภายในประเทศ (Local Transmission) เพิ่มขึ้นหลายพื้นที่ และมีสถานการณ์โรคล่าสุดวันที่ 31 มีนาคม 2563 สถานการณ์โรคทั่วโลก มีผู้ป่วยสะสม 784,381 ราย เสียชีวิต 37,780 ราย (ประเทศที่มีการป่วยสูง 5 ลำดับแรก 1 สหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยสะสม 163,479 ราย เสียชีวิต3,148 ราย 2.อิตาลี มีผู้ป่วยสะสม 101,739 ราย เสียชีวิต 11,591 ราย 3.สเปน มีผู้ป่วยสะสม 87,956 ราย เสียชีวิต7,716 ราย 4.สาธารณรัฐประชาชนจีน มีผู้ป่วยสะสม 81,470 ราย เสียชีวิต3,304 ราย และ 5.เยอรมัน มีผู้ป่วยสะสม 66,885 ราย เสียชีวิต 645 ราย สำหรับสถานการณ์โรคในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อ 61 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 79.22 และมีผู้ป่วยสะสม1,651 ราย เสียชีวิต 10 ราย (พบในกรุงทพฯ-นนทบุรี 869 ราย ภาคเหนือ 55 ราย ภาคกลาง 172 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 77 ราย และภาคใต้ 206 ราย) แยกผู้ป่วยรายเพศได้ดังนี้ เพศชาย ร้อยละ 41.30 และเพศหญิง ร้อยละ 58.70 และสถานการณ์โรคในภาคใต้ 14 จังหวัด พบมีผู้ติดเชื้อ 11 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 78.57 จังหวัดที่มีผู้ป่วย 5 ลำดับแรก คือ 1.ภูเก็ต มีผู้ป่วยสะสม55 ราย 2.ยะลา 48 ราย 3.ปัตตานี 33 ราย 4.สงขลา 30 ราย และ 5.กระบี่ 8 ราย สำหรับจังหวัดสตูลยังไม่พบผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ และพบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคมีแนวโน้มสูงขึ้น และมีความรุนแรงขึ้น

ด้วยเหตุนี้ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 8 บ้านอุไร จึงเล็งเห็นว่า หากไม่ดำเนินการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อกรณีโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 นี้ ในพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ ประชาชนมีโอกาสในการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ค่อนข้างสูง และเมื่อป่วยแล้วอาจมีการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุม มิให้คนในชุมชน/หมู่บ้านที่รับผิดชอบต้องป่วยและเสียชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน และลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่ให้ขยายตัวเป็นวงกว้างจนยากแก่การควบคุม
  1. ร้อยละ 100 มีเครือข่ายคณะทำงานในการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  ในหมู่บ้าน
  2. ร้อยละ 100 ในหมู่บ้าน ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID -19)
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,240.00 5 22,240.00
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 ประชุมคณะทำงาน 0 2,632.00 2,632.00
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 เฝ้าระวัง และสังเกตอาการผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง 0 16,480.00 16,480.00
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 ควบคุม ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ สถานที่พักของผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อ หรือสถานที่มีความเสี่ยงที่มีการรวมตัวของคนหมู่มาก 0 0.00 0.00
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ แก่ประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน 0 2,128.00 2,128.00
1 - 30 ก.ย. 63 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1,000.00 1,000.00

วิธีดำเนินการ

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

1.1 ประชุมชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงานแก่คณะทำงาน จำนวน 1 ครั้ง

1.2 จัดประชุม War room คณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 เดือน เพื่อทราบสถานการและปรับแผนการทำงานเพื่อทราบสถานการณ์และปรับแผนการทำงาน

กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวัง และสังเกตอาการผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง

2.1 เก็บ รวบรวม ข้อมูลผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อ หรือพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง เข้ามาอยู่ในพื้นที่ รายงานให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอำเภอละงูทราบ

2.2 ดำเนินการเฝ้าระวัง และสังเกตอาการผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อ หรือพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง เข้ามาอยู่ในพื้นที่ ร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน,เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลละงู,องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง และคณะทำงานฝ่ายปกครองในหมู่บ้าน รายงานให้อำเภอละงูทราบ

2.3 ดำเนินการให้ความรู้ แก่ผู้ที่ถูกกักตัวและญาติทุกราย ให้ดำเนินการตามมาตรการหมู่บ้านและชุมชนเป็นเวลา 14 วัน

2.4 ตั้งจุดตรวจคัดกรอง ร่วมกับคณะทำงานฝ่ายปกครองในหมู่บ้าน เพื่อคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยง เพื่อดำเนินการซักประวัติต่อไป

2.5 คัดกรอง และซักประวัติบุคคลที่มีความเสี่ยงตามแบบฟอร์มของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกำหนดให้

2.6 กรณีพบผู้ที่มีภาวะเสี่ยง รายงานและประสานให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการต่อไป

กิจกรรมที่ 3 ควบคุม ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ สถานที่พักของผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อ หรือสถานที่มีความเสี่ยงที่มีการรวมตัวของคนหมู่มาก เช่น วัด มัสยิด โรงเรียน ธนาคาร เป็นต้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ

3.1 จัดตั้งทีมหรือคณะทำงานในหมู่บ้านเพื่อรับผิดชอบในการควบคุม ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรค

3.2 ดำเนินการทำความสะอาดสถานที่ และฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อในสถานที่พักของผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อหรือสถานที่มีความเสี่ยงที่มีการรวมตัวของคนหมู่มาก เช่น วัด มัสยิด โรงเรียน ธนาคาร เป็นต้น ทุกแห่งอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน,เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลละงู,องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

กิจกรรมที่ 4 การประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ แก่ประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน

4.1 จัดทำป้ายไวนิลเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบ ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค และแนวทางการในการป้องกันแก้ไข

4.2 จัดทำเอกสาร แผ่นพับ หรือแผ่นปลิว เพื่อสร้างความรู้ให้ประชาชนทุกครัวเรือน

4.3 ประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสายในหมู่บ้าน หรือวิธีอื่นๆ

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

5.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

5.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีเครือข่ายคณะทำงานในการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่
  2. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความตระหนักในการดูแลป้องกันไม่ให้เกิดโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  3. สามารถควบคุมป้องกันและลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในพื้นที่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2563 15:19 น.