กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
รหัสโครงการ 004/2563
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบลูกาฮีเล
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 16 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 94,775.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนพดล คงสาม
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะกะตา เจ๊ะแล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.336,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลก ณ วันที่ 27 มีนาคม 2563 (13.25 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 532,909 ราย เสียชีวิต 24,093 ราย พบมากที่สุด คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยติดเชื้อ 85,594 ราย รองลงมา คือ ประเทศจีน มีผู้ป่วยติดเชื้อ 81,340 ราย และประเทศอิตาลี มีผู้ป่วยติดเชื้อ 80,589 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อทั้งหมด 1,136ราย เสียชีวิต 5 ราย (www.worldometers.info/coronavirus) จังหวัดนราธิวาส ได้รับรายงานพบผู้ป่วยติดเชื้อ จำนวน ทั้งหมด 7 ราย เสียชีวิต 1 ราย พบในพื้นที่อำเภอสุไหงโกลก 2 ราย อำเภอสุคิริน 2 ราย เจาะไอร้อง 1 ราย อำเภอแว้ง 1 ราย และอำเภอรือเสาะ 1 ราย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบลูกาฮีเล จึงเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ 2. เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและ รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาตง 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. จัดประชุม อสม. เพื่อชี้แจงแนวทางการคัดกรอง ฝึกใช้เครื่องวัดไข้แบบยิงหน้าผาก การให้คำแนะนำ และการดำเนินงานในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) กับประชาชนในพื้นที่ แยกเป็นรายหมู่บ้าน ดังนี้ รุ่นที่ 1 อสม. หมู่ที่ 1 บ้านตะแม็ง จำนวน 10 คน รุ่นที่ 2 อสม. หมู่ที่ 6 บ้านบลูกาฮีเล จำนวน 9 คน รุ่นที่ 3 อสม. หมู่ที่ 7 บ้านบูเก๊ะ จำนวน 9 คน รุ่นที่ 4 อสม. หมู่ที่ 8 บ้านบลูกาฮีเลตก จำนวน 10 คน รวมทั้งหมด        38 คน 2. รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ดำเนินการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ 3. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกัน เฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ของกรมควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา กระทรวงสาธารณสุข 4. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 5. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาติดต่อได้
  2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาติดต่อ
  3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2563 16:43 น.