กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชาวเกียร์ร่วมด้วยช่วยกันเพื่อตำบลเกียร์ สวย สะอาด และปราศจากโรค ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L2530-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไอยามู
วันที่อนุมัติ 5 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 83,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแฉล้ม เพ็ชรนิล
พี่เลี้ยงโครงการ นายดานิช ดิงปาเนาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกียร์ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.984,101.775place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในรอบระยะเวลาตั้งแต่ ปี ๒๕๕๗-๒๕๕๙ ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไอยามู ที่รับผิดชอบดูแลประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกียร์นั้น ในปีพ.ศ.๒๕๕๗ได้มีรายงานการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๒ ราย โรคตาแดงจำนวน ๔๑ ราย และโรคอุจราระร่วงจำนวน ๕๕ ราย ในปีพ.ศ. ๒๕๕๘ มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน ๕ ราย ไข้มาลาเรีย จำนวน ๔ ราย โรคตาแดงจำนวน ๑ ราย และโรคอุจราระร่วง จำนวน ๔๐ ราย และในปี พ.ศ.๒๕๕๙ มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน ๔ ราย ไข้มาลาเรีย จำนวน ๑๒ รายโรคตาแดงจำนวน ๔ ราย และโรคอุจราระร่วงจำนวน ๕๑ รายซึ่งจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยในเกือบทุกโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ที่ผ่านมาทางกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกียร์ ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ และการควบคุมป้องกันโรค ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไอยามู อย่างต่อเนื่อง แต่ในการดำเนินงานด้านนี้ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไอยามู ยังขาดการบูรณาการ กับทั้งภาครัฐและประชาชน เป็นการทำงานฝ่ายเดียว ประชาชนยังไม่ให้ความสำคัญในการร่วมกันดูแล และใส่ใจในสุขภาวะ อันจะส่งผลให้การจัดการด้านสุขภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรทำให้จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ ยังคงสูง เพื่อให้เกิดการบูรณาการ และการดำเนินงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไอยามู จึงได้จัดทำโครงการชาวเกียร์ร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อตำบลเกียร์ สวย สะอาด และปราศจากโรค ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในงานควบคุมโรคให้มากขึ้น

 

2 เพื่อให้ประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายมีความ รู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรค การดูแล สุขภาพตนเอง และสามารถดูแลเพื่อนบ้านได้ ให้มากขึ้น

แกนนำควบคุมโรคประจำหมู่บ้านเข้าร่วมประชุมร้อยละ ๙๕

3 เพื่อให้เกิดความร่วมมือแบบบูรณาการระหว่าง หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

4 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย,ไข้เลือดออก,โรคอุจจาระร่วง และโรคตาแดง

1.พ่นสารเคมีครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 2.จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียต้องลดลง ๕๐ %จาก
จำนวนผู้ป่วย ในปี ๒๕๕๙ ไม่นับผู้ป่วยที่มา จากนอกพื้นที่
หรือ Import case 3.จำนวนผู้ที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ต้องไม่เกิน ร้อยละ ๕๕
/ แสนประชากร ไม่นับผู้ป่วยที่มาจาก นอกพื้นที่ หรือ Importcase 4.หลังคาเรือนมีการทำความสะอาดพร้อมกันเดือนละ ๑ ครั้ง
ร้อยละ ๙๕

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ใช้เวลาในการดำเนินโครงการ ๕ เดือน โดยมีกลวิธีดังนี้ ระยะเตรียมการก่อนดำเนินโครงการ ๑.ประชุมทีมงานเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบโครงการ ๒.จัดทำแผนการดำเนินงาน/โครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ ๓.เตรียมสถานที่เพื่อจัดการอบรม ทีมงาน ควบคุมโรคระดับหมู่บ้าน ระยะดำเนินการ ก่อนการระบาด ๑.จัดอบรมกลุ่มแกนนำควบคุมโรคประจำหมู่บ้าน ๒.สำรวจค่าBI,CI,HI
๓.ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์แก่กลุ่มเป้าหมายและภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในโครงการได้แก่ - แกนนำครอบครัว - กลุ่มผู้ชุมชน - กลุ่มผู้นำศาสนา ๕.ทำแผนการจัดกิจกรรมทำความสะอาดพร้อมกันเดือนละ ๑ ครั้ง/ดำเนินกิจกรรมตามแผน - ประชาชนมีการจัดเก็บกวาดบ้านเรือน เปลี่ยนถ่ายน้ำ เก็บขยะ คัดแยกขยะ - อสม.สำรวจและร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ๖.ทำแผนการออกพ่นสารเคมีและเตรียมทรายอะเบท /ดำเนินกิจกรรมตามแผน - กลุ่มแกนนำควบคุมโรคประจำหมู่บ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคพ่นสารเคมี ๒ ครั้ง - แจกทรายอะเบท ระยะดำเนินการขณะมีการระบาด ๑.ตรวจสอบข้อมูลที่ไดรับแจ้ง ๒.ลงสอบสวนโรคพร้อมด้วยทำการควบคุม ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมได้แก่ - สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย - พ่นสารเคมีรัศมี ๑๐๐ เมตรตามมาตรการ - แจกทรายอะเบท - แจกสเปรย์ป้องกันยุง ๓.ให้สุขศึกษารายบุคคล / รายกลุ่ม ตามแต่กรณีให้บริการในเชิงรุกทุกพื้นที่ ๔.เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ ๕.เขียนรายงาน ๕๐๖ ทุกราย ระยะดำเนินการหลังการระบาด ๑.ออกให้บริการในเชิงรุกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยทุกรายเพื่อติดตามอาการ ๒.ให้สุขศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องการฟื้นฟูร่างกายและการดูแลตนเอง ๓.สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำ ๔.สรุปผลการดำเนินโครงการและเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์แก้ไขปัญหาเพื่อวางแผนการใช้ในครั้งต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงอันตรายของโรคติดต่อที่มีอยู่ในพื้นที่มากขึ้น ๒.ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ๓.ประชาชน ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคด้วยการช่วยกันดูแลสภาพแวดล้อมทั้ง ที่บ้านและชุมชน ๔.มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ให้มากขึ้น ๕.ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคอุจจาระร่วง และโรคติดต่ออื่นลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 15:28 น.