โครงการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลสนามชัย ปี 2560
ชื่อโครงการ | โครงการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลสนามชัย ปี 2560 |
รหัสโครงการ | 60-L5244-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามชัย |
วันที่อนุมัติ | 19 พฤษภาคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 13,584.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววสุนันท์ เจียนซี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.547,100.417place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง การบริโภคอาหารที่สุก สะอาด ถูกต้อง เหมาะสม ทั้งประเภท ปริมาณครบถ้วน 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ สำหรับบุคคลทั่วไป กลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยนั้น ทำให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย คือ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอีกด้วยในทางกลับกัน การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด มีสารปนเปื้อนก็จะเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ อาหารจะสะอาดได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญคืออาหารหรือวัตถุดิบที่นำมาปรุง สถานที่ผลิต และประกอบการด้านอาหาร นอกจากนั้นยังมีสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แหล่งนำเสียแหล่งทิ้งขยะมูลฝอยโดยส่วนใหญ่ประชาชนจะเป็นผู้ปรุงอาหารกินเอง จึงต้องมีการให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารแก่แม่บ้านให้ครอบคลุมพื้นที่ รวมถึงศูนย์เด็กเล็ก ดังนั้นการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นเครื่องมือ ที่สำคัญในการที่จะช่วยลดและแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อที่พบได้บ่อยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกิจกรรมรณรงค์ ให้ความรู้ แก่ผู้ประกอบการร้านค้า แผงลอย กลุ่มแม่บ้านประจำครัวเรือน นักเรียน ครู ผู้ปรุงอาหารในโรงเรียนแกนนำ อสม. ผ่านสื่อทุกรูปแบบ ซึ่งเป็นการสร้างกระแสด้านอาหารปลอดภัยในพื้นที่ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลสนามชัย ปี 2560 ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานอาหารปลอดภัยสำเร็จ ลุล่วงต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
ระยะเตรียมการ 1. จัดทำโครงการ 2. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ 3. จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการ 4. จัดเตรียมสิ่งสนับสนุนในการดำเนินงานโครงการ - วัสดุ อุกรณ์ เอกสาร การประชุม/อบรม/จัดกิจกรรมรณรงค์ - กำหนดการประชุม/หลักสูตรการอบรม - อาหารและเครื่องดื่มสำหรับการประชุม ระยะปฏิบัตการ 1. ประชุมเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการอาหารปลอดภัย จำนวน 1 ครั้ง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข - กำหนดแผนการประชุม - ลงทะเบียนการประชุม/แจกเอกสาร - กำหนดวาระการประชุม 2. ตรวจ ติดตาม ดูแลด้านสุขภิบาลอาหาร/อาหารปลอดภัย 3. อบรมสุขาภิบาลอาหาร/อาหารปลอดภัย 4. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ทุกรุปแบบ ผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ 5. สนับสนุนให้โรงเรียนเข้าร่วมประชุม ประชาสัมพันธ์ด้านอาหารปลอดภัย 6. ตรวจร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง
ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน ครูพี่เลี้ยงเด็ก และผู้ประกอบการอาหารมีความรู้เรื่องการสุขาภิบาลอาหารและมาตรฐานของสถานประกอบการ โรคอุจาระร่วงและโรคต่างๆที่เกิดจากองค์ประกอบด้านการผลิตอาหารและบริโภคอาหารเป็นปัจจัยสาเหตุลดลง เกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญในการเลือกซื้อ บริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย ได้คุณค่าทางโภชนาการ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 16:08 น.