กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ลดโรค ไร้พุงชาวตำบลเกียร์ ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L2530-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไอยามู
วันที่อนุมัติ 5 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 43,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแฉล้ม เพ็ชรนิล
พี่เลี้ยงโครงการ นายดานิช ดิงปาเนาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกียร์ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.984,101.775place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 827 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกซึ่งส่งผลคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน และการพัฒนาประเทศสำหรับประเทศไทยถึงแม้จะมีแผนงานที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ อัน ได้แก่ แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๖๓ แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ และแผนงานยุทธศาสตร์สุขภาพกระทรวงสาธารณสุข ด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้น ซึ่งเป้าหมาย ที่สำคัญ คือ การจัดการโรคสำคัญ ๕ โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคมะเร็งแต่การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าวในระดับปฏิบัติการยังมีความไม่ชัดเจน ในเรื่องของรูปแบบ โดยเฉพาะบริบทของการให้การบริการ ซึ่งมีความแตกต่างจากการให้บริการกลุ่มโรคเฉียบพลัน ดังนั้นควรมีการปรับปรุงระบบการให้บริการ เพื่อให้เหมาะสมกับบริบท และแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ โรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาของบุคคล ที่เกิดขึ้นอทรัพยากรบุคคลและเศรษฐกิจ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เกิดจากพฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งสามารถป้องกันและปรับเปลี่ยนได้ จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไอยามู ใน ปี ๒๕๕๙ พบว่ามีประชากรอายุมากกว่า ๓๕ ปี ทั้งหมด ๘๒๔ คน ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๑๘๔ คนคิดเป็นร้อยละ๒๒.๓๓ ป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวน3 คนคิดเป็นร้อยละ ๐.๓๖ และป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานจำนวน ๓๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๔ และพบว่าในประชากรที่เป็นโรคดังกล่าว สามารถควบคุมโรคให้อยู่ในระดับปกติได้ มีจำนวนน้อยมาก ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี(ระหว่าง 70 ถึง 130 mg/d) จะต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๔๐, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี (ต่ำกว่า 140/90 mmHg)ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ จากปัญหาดังกล่าวที่พบในข้างต้นพบว่าหากปล่อยให้ภาวะโรคเรื้อรังคุกคามประชากรอยู่สิ่งที่จะตามมาคือโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases; CVDs) ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (peripheral arterial disease) เป็นโรคของความผิดปกติ ของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงแขนและขา ส่งผลให้เกิดแผลตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งในผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะมีการไหลเวียนของเลือดไม่สมบูรณ์ทำให้การหายของแผลช้าอาจเกิดการติดเชื้อและลุกลามถึงขั้นต้องตัดอวัยวะในส่วนนั้นทิ้ง โรคหลอดเลือดดำ ที่ขาอุดกั้นและภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นที่ปอด (deep vein thrombosis and pulmonary embolism) เป็นภาวะที่มีการแข็งตัวของเลือดบริเวณเส้นเลือดดำ ที่ขา ซึ่งลิ่มเลือดอาจหลุดไปที่หัวใจหรือปอด โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งทั่วโลก นอกจากนี้โรคเรื้อรังยังทำให้เกิดหลอดเลือด ตีบ แตก ตัน ในอวัยวะส่วนต่างๆได้ แล้วนั้นหากเกิดภาวะนี้ในสมองสิ่งที่จะตามมาก็คือ อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งทำให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้น้อยหรือไม่ได้เลย กลายเป็นภาระให้แก่ญาติ ผู้ดูแลและสังคม
ดังนั้นในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไอยามู จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ลดโรค ไร้พุงชาวตำบลเกียร์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ รวมถึงคัดกรองผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังแล้ว ว่าสามารถควบคุมโรคให้อยู่ในภาวะปกติได้หรือไม่ ในเขตหมู่ ๑-๕ตำบลเกียร์ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ย่างถาวรไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สังคมครอบครัวต้องรับภาระ ดูแลส่งผลให้การดำเนินชีวิตของสมาชิกครอบครัวเปลี่ยนแปลง สูญเสีย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายมีขนาดรอบเอว น้ำหนักและดัชนี มวลกายอยู่ในค่าปกติ ร้อยละ ๘๐

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีขนาดรอบเอว น้ำหนักและ ดัชนีมวลกายอยู่ในค่าปกติ

กลุ่มเสี่ยงโรคความดัน เบาหวาน สามารถปรับ พฤติกรรม(ค่าความดันปกติ)ได้ร้อยละ ๓๐

3 เพื่อให้กลุ่มป่วยด้วยโรคความดัน เบาหวาน มีการ ปรับพฤติกรรมและสามารถคุมระดับความดัน โลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน สามารถปรับพฤติกรรม (ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ)ได้ร้อยละ ๒๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ใช้เวลาในการดำเนินโครงการ ๕ เดือน โดยมีกลวิธีดังนี้ ขั้นเตรียมการ ๑.ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน ๒.เขียนโครงการเพื่อเสนออนุมัติสนับสนุนงบประมาณ ๓.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นดำเนินการ ๑. แจ้งผู้ที่มีรอบเอว (พุง) และน้ำหนักเกินมาตรฐานเข้าร่วมโครงการทุกราย
๒. จัดมหกรรมโครงการไร้พุง ลดโรค ๓. ให้ความรู้ในเรื่องโรคที่เกิดจากภาวะอ้วน อ้วนลงพุง และวิธีการลดน้ำหนัก ลดรอบเอว(พุง) ๔. คัดแยกกลุ่มเป้าหมายโดยใช้ปิงปอง ๗ สี ช่วยในการคัดแยกและปรับพฤติกรรม ๕. นำออกกำลังกายโดย อสม. ทุกวันเวลา ๑๖.๐๐ น. เป็นต้นไป ที่ศาลาหมู่บ้านของแต่ละหมู่บ้าน ๖. ติดตามกลุ่มเป้าหมายเดือนละ ๑ ครั้ง โดยมีการแข่งขันวัดระดับน้ำหนักและรอบเอว (พุง) ในระยะเวลา ๓ เดือน ๗. ถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน
ขั้นสรุปผล สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมายไม่เจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือ สามารถควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 16:09 น.