โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโกตาบารู |
วันที่อนุมัติ | 9 เมษายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 100,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายประพันธ์ สีสุข |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.452,101.345place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 9 เม.ย. 2563 | 30 เม.ย. 2563 | 100,000.00 | |||
2 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 100,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 5838 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื่อหุ้มปอดอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตายไม่ได้สูงมากนักเพียง 1-3% ร้ายแรงน้อยกว่า SAR ซึ่งมีอัตราการตาย 10%
สถานการณ์การเกิดโรคระบาดCOVID-19 ในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผู้ป่วยสะสมจำนวน 38 คน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 3 ราย รักษาหายสะสม จำนวน 3 ราย เสียชีวิต จำนวน 1 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2563) และจำนวนผู้เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงและต้องเฝ้าระวังในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา จากประเทศมาเลเซีย จำนวน 1,071 ราย และกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด รวม 296 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 27 มีนาคม 2563) ดังนั้น มาตรการป้องกันไม่ให้ติดโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) นั้นถือว่าจำเป็น ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศ หรือสถานที่พลุกพล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮอล์เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี การไม่นำเอามือมาป้าย จับหน้า ความรู้และเข้าใจการดำเนินไปของโรค เป็นสิ่งสำคัญ เทศบาลตำบลโกตาบารู จึงได้จัดทำ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยการประชาสัมพันธ์การป้องกัน และจัดหาอุปกรณ์ในการป้องกันโรค ช่วยลดผลกระทบทางด้านสุขภาพ สังคม และเพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชนในเขตเทศบาลตำบลโกตาบารู
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา COVID-19 ประชาชนมีความปลอดภัยในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
9 - 30 เม.ย. 63 | ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) | 5838 | 5,184.00 | - | ||
9 - 30 เม.ย. 63 | จัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรค | 5838 | 91,816.00 | - | ||
รวม | 11,676 | 97,000.00 | 0 | 0.00 |
2.1 เขียนโครงการและนำเสนอแก่ที่ประชุมคณะกรรมการ 2.2 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโกตาบารู 2.3 ประสานงานกับหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง 2.4 จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
ประชาชนมีความปลอดภัยในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2563 14:13 น.