กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาชนปลอดภัย ลดใช้สารเคมีปราบศตรูพืช ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีรพจน์ พงศ์ดารา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.423,99.921place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช (Pesticides) เข้ามามีบทบาท และใช้ในด้านการเกษตรอย่างกว้างขวางและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าสารเคมีดังกล่าวจะมีหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการแสดงถึงความเป็นพิษต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน และทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับสัมผัสได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีโดยตรง หรือกลุ่มผู้บริโภคพืชผักที่มีสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในพืชผักจำนวนมาก การแก้ไขปัญหาและการควบคุมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อคุ้มครองสุขภาพทั้งเกษตรกร และผู้บริโภคเป็นบทบาทที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการลดปริมาณการใช้ และการเฝ้าระวังการได้รับพิษจากสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เป็นสิ่งสำคัญที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลไปให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไป สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ส่วนใหญ่มีผลต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งจากข้อมูลปริมาณการนำเข้าและการตรวจพบสารตกค้างในพืชผักดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับสัมผัสสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีแนวโน้มความเสี่ยงรุนแรงมากขึ้น ในแต่ละปีมีการรายงานผู้ป่วยและเสียชีวิตจากการได้รับพิษจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทั้งที่เกิดจากความตั้งใจ และไม่ตั้งใจ อย่างต่อเนื่องทุกๆปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ ๘๐ ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนา  ทำไร่ ทำสวนผลไม้และสวนยางพารา ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่และจากการตรวจเลือดเกษตรกร ปี ๒๕๖๒ มีจำนวนผู้เข้ารับการตรวจ จำนวน ๖๐ คน พบว่ามีผลการตรวจ ไม่ปลอดภัย จำนวน 14 คน มีความเสี่ยง จำนวน ๑6 คน ปลอดภัย จำนวน 29 คน และปกติ จำนวน ๑ คน จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกร จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพ และการบริโภคสารเคมีจากพืช ผัก ผลไม้ ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรและผู้จำหน่าย ผู้บริโภคได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด 100%

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและดีขึ้น

เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 8,700.00 1 8,700.00
25 มิ.ย. 63 - 21 ก.ค. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ 1เเละครั่งที่2 60 8,700.00 8,700.00
  1. สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและร้านค้าในชุมชนที่รับผลผลิตไปจำหน่าย
  2. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  3. ประสานกลุ่มเป้าหมายการเข้าร่วมโครงการ
  4. แจ้งประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
  5. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
  6. ตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ 1
  7. แจ้งผลการตรวจเป็นรายบุคคลแยกประเภทกลุ่ม และจัดทำทะเบียนตามผลการตรวจ
  8. นำกลุ่มเสี่ยง เข้าร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  9. ตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ 2
  10. แจ้งผลการตรวจเป็นรายบุคคล
  11. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเกษตรกรและผู้จำหน่าย ผู้บริโภคมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2563 14:21 น.