กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงด้วยการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีรพจน์ พงศ์ดารา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.423,99.921place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 209 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่า 12 ล้านคน แต่มีผู้เข้าถึงการรักษาและขึ้นทะเบียนเพียง 4 ล้านคน ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ได้เพียงร้อยละ 29.7 แสดงให้เห็นว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านมา ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ความดันโลหิตในคนไทยลดลง ยังเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ที่ป่วยแล้วยังเข้าไม่ถึงบริการมากกว่าครึ่ง ตลอดจนการวินิจฉัย/การรักษาก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร
การศึกษาในผู้สูงอายุไทยที่เป็นความดันฯสูงควบคุมไม่ได้ พบว่า การวัดความดันฯด้วยตนเองที่บ้านช่วยให้อัตราการควบคุมความดันฯได้เพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 50 และผู้ป่วยความดันฯสูงที่วัดความดันฯด้วยตนเองที่บ้าน ช่วยลดระดับความดันฯได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย4 – 8 มม.ปรอทในเวลา 1 ปี เมื่อเทียบกับการวัดความดันฯที่โรงพยาบาล ดังนั้นการวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blood Pressure Monitoring: HBPM) หรือ การวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง (Self Monitoring Blood Pressure: SMBP) จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ควบคุมความดันฯไม่ได้ตามเกณฑ์ รพ./รพ.สต.บ้านท่าเหนาะจึงจัดทำโครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน เพื่อดำเนินการดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย รักษาและติดตามความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองวินิจฉัย รักษาและติดตามความดันโลหิต ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯและการใช้ยา และติดตามผลของการใช้ยาและปรับพฤติกรรมฯ 3 อ. 2 ส. เพื่อการควบคุมความดันฯสูง

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯและการใช้ยา และติดตามผลของการใช้ยาและปรับพฤติกรรมฯ 3 อ. 2 ส. เพื่อการควบคุมความดันฯสูง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 209 18,000.00 1 18,000.00
1 เม.ย. 63 - 31 ก.ค. 63 ค่าครุภัณฑ์ เครื่องวัดความดันโลหิต 209 18,000.00 18,000.00

1.ขอสนับสนุน อปท./กองทุนฯท้องถิ่น ในการจัดหาเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ เพื่อสนับสนุนการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีความจำเป็นตามลำดับก่อนหลัง 2. แนะนำและสอนให้ผู้ป่วยวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน 5 ขั้นตอน : คุยความรู้ ทำให้ดู ดูให้ทำ ทำเองได้ ไม่ต้องดู และอยู่ยั่งยืน 3. ประสานความร่วมมือกับ อสม.ติดตามและช่วยเหลือผู้ป่วยวัดความดันโลหิตกรณีที่ผู้ป่วยไม่มั่นใจหรือต้องการความช่วยเหลือ 4. ให้ผู้ป่วยบันทึกค่าความดันโลหิตที่วัดในช่วงเช้าและก่อนนอนทุกวันเป็นเวลา 4-7 วัน หรืออย่างน้อย 7 วันก่อนวันนัดตรวจทุกครั้ง และนำมาปรึกษา รพ.สตหรือเจ้าหน้าที่รพ.เพื่อปรึกษาหรือส่งต่อพบแพทย์ หรือส่งผ่านช่องทางอื่นแล้วแต่กรณี โดยผู้ที่ไม่สามารถจัดหาเครื่องวัดความดันโลหิตด้วยตนเองทางโครงการจะขอสนับสนุนจากกองทุนฯท้องถิ่นเพื่อจัดหาและให้ยืม 5. แพทย์ตรวจสอบค่าความดันโลหิต ซักถามประวัติ วินิจฉัยหาสาเหตุพฤติกรรมสุขภาพที่เพิ่ม หรือลดความดันฯที่บ้านเพื่อปรับเปลี่ยนฯ และให้การรักษา เพื่อควบคุมความดันโลหิต ปรับยาหรือหยุดยาแล้วแต่กรณี 6.สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงานหรือบัญชีรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมโครงการ (ตามภาคผนวก) ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคลองทรายขาว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

จำนวนผู้ป่วยโรคความดันฯสูง ที่ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านฯดังกล่าว วัดความดันฯตนเองที่บ้าน อย่างน้อย 7 วันก่อนวันนัดตรวจ ในระยะเวลาดำเนินการ 4 เดือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2563 14:34 น.