กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2479-2-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2559 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 200,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววนิดา ดรอแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.182,101.828place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1034 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน/สังคมตามลำดับ การระบาดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ข้อมูลจากระบบรายงาน การเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2559 - 18 ตุลาคม 2559 พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 2,838ราย มีรายงานป่วย จำนวน 5 ราย ในอำเภอเจาะไอร้องอัตราป่วยสูงสุดอันดับแรก คือ ตำบลบูกิต ในปี ๒๕๕9 พบมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก โดยเป็นผู้ป่วยที่ได้รับรายงานจากโรงพยาบาลเจาะไอร้อง และผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาสถานพยาบาลอื่น เป็นจำนวน 2 รายโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบูกิตยังคงมีการระบาดทุกปีประกอบกับตำบลตำบลบูกิตเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และมีลำคลองหลายสาย และมีการกำจัดขยะที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ชาวบ้านไม่มีความตระหนักในการป้องกันแก้ไข ทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกตลอดทั้งปีด้วยในปีนี้สภาพอากาศร้อนเร็วกว่าทุกปีซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้ำยุงลายเจริญเติบโตได้ดีและข้อมูลทางวิชาการพบว่าขณะนี้การเจริญเติบโตของลูกน้ำยุงลายกลายเป็นยุงใช้เวลาเพียง ๕ วันจาก ๗ วันทำให้ปริมาณยุงตัวเต็มวัยเพิ่มมากขึ้นจึงคาดการณ์ว่าในปีงบประมาณ 2560 อาจเกิดโรคระบาดของโรคไข้เลือดออก เทียบสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ณ ช่วงเวลาเดียวกันของปีนี้กับปี 2558 พบสูงกว่าช่วงเดียวกันและพบอัตราการป่วยในทุกกลุ่มอายุการป้องกันก่อนถึงฤดูกาลระบาดในทุกพื้นที่ช่วยลดจำนวนยุงลายให้เหลือน้อยที่สุดโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่มักอาศัยในภาชนะที่มีน้ำท่วมขังและหากมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกให้ดำเนินการสอบสวนโรคและควบคุมโรคภายใน3ชั่วโมงเพื่อไม่ให้โรคแพร่ระบาดและพ่นสารเคมีรอบบ้านผู้ป่วยรัศมีอย่างน้อย๑๐๐เมตรเพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรคปัจจุบันโรคไข้เลือดออกกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยเนื่องจากสถานการณ์ของโรคพบแนวโน้มสูงขึ้นโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง การสร้างเสริมและป้องกันโรค สามารถดำเนินการทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมชน โดยจำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจของโรคและกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในชุมชนต่างๆของตำบลบูกิต ปัจจุบันพบว่ามีอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกที่เพิ่มขึ้น(ข้อมูลการเกิดโรคไข้เลือดออกของตำบล) ถึงแม้จะใช้การใส่ทรายอะเบท และการพ่นกำจัดยุงลาย ก็ยังไม่สามารถลดอัตราการป่วยของโรคดังกล่าวได้ สิ่งสำคัญของการเกิดโรคคือยุงลาย และลูกน้ำที่จะต้องเจริญเติบโตเป็นยุงในบางระยะไม่สามารถกำจัดได้ด้วยทรายอะเบท จึงจำเป็นต้องใช้การกำจัดโดยการลดแหล่งน้ำเพาะพันธุ์ ภายในบ้านและในชุมชน เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และสร้างกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ จึงเห็นว่าการให้ความรู้กับเยาวชน/นักเรียนในโรงเรียน จะสามารถลดจำนวนลูกน้ำที่จะเป็นยุงในอนาคตได้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้แกนน้ำสามารถสำรวจลูกน้ำยุงลายร่วมกับ อสม.ที่ได้รับผิดชอบการสร้างเสริมและป้องกันโรคในพื้นที่ หากกิจกรรมดังกล่าวดำเนินได้เป็นอย่างดีจะพัฒนาไปสู่การส่งเสริมและป้องกันโรคติดต่อ และไม่ติดต่อในอนาคต
ชมรมอสม.ร่วมด้วยอบต.บูกิต รพ.สต.ทั้ง 3 แห่ง สถานศึกษาในตำบลบูกิต ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่ที่เกิดขึ้นจึงได้จัดทำชุมชนร่วมใจ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกประจำปี 2560 ขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนสถาบันต่างๆโรงเรียนรวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก

 

2 2.เพื่อให้ประชาชนในตำบลบูกิตเกิดความตระหนักในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

 

3 3.เพื่อให้ประชาชนร่วมกันในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

 

4 ๔.เพื่อกระตุ้นให้เกิดภาคีเครือข่าย ได้แก่ บ้าน, ชุมชน และสถานศึกษา ในการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
    1. ส่งโครงการเข้าคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา/คณะกรรมการกองทุนฯประชุมพิจารณาโครงการ
  2. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน วัตถุประสงค์/แผนงานโครงการ/ประสานขอความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่างๆและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
    1. วิเคราะห์พื้นที่ระบาดและพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเพื่อใช้เป็นแนวทางในการรณรงค์
    2. ดำเนินโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ร่วมคว่ำกะลากำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและใส่ทรายอะเบทสำรวจค่า HI,CI ในทุกหมู่บ้านและดำเนินการทุกๆหมู่บ้านๆ โดยการประชาสัมพันธ์โครงการและเสียงตามสายโดย อสม. ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก การรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง การพ่นหมอกควัน
  3. จัดทำเอกสารแผ่นพับ ไวนิล เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้แก่ชุมชนและโรงเรียน
    1. ประชาสัมพันธ์โดยใช้ไวนิล เอกสารแผ่นพับใบปลิว สื่อต่างๆ วิทยุกระจายเสียงชุมชนเป็นต้น
  4. รณรงค์การจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและใส่ทรายอะเบทสำรวจค่า HI,CI ในทุกหมู่บ้านและดำเนินการทุกๆหมู่บ้านๆเดือน
  5. โครงการฝึกอบรมทักษะการใช้เครื่องพ่นหมอกควันป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก การจัดซื้อเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง ดูแลเครื่องพ่นหมอกควันให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ และส่งมอบให้อยู่ในความดูแลของอสม./รพ.สต. ในพื้นที่
    1. จัดหาให้มีวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันยุงกัด เช่น ผ้าบางสำหรับห่อทรายอะเบท ฯลฯ
  6. ดำเนินการฉีดพ่นหมอกควันตามบ้านเรือนกรณีได้รับแจ้งมีผู้ป่วยไข้เลือดออกภายใน 24 ชม.แรกและอีก ใน 7 วันต่อมา
  7. กรรมการอสม.ในแต่ละหมู่บ้านร่วมเดินสำรวจและตรวจนับจำนวนลูกน้ำยุงลาย ทั้ง 14 หมู่บ้านในวันเสาร์-อาทิตย์
    ๑3. ประเมินผลการดำเนินโครงการโดยจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ๑4. สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการต่อที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 อัตราป่วยและอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 6.2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับองค์กรชุมชนประชาชนอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชนและประชาชนในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.ทุกแห่ง ทุกคนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 6.3 ค่าดัชนีลุกน้ำยุงลาย (HI,CI) ลดลง ร้อยละ80ของหมู่บ้าน วัด โรงเรียน หน่วยงานราชการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 17:17 น.