กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพุง หุ่นดี ด้วย 3 อ.
รหัสโครงการ 60-L2479-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด อบต.บูกิต
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,725.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวดอเลาะยูโซะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.182,101.828place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พฤติกรรมและวิถีชีวิตมีผลอย่างมากต่อสุขภาวะของมนุษย์พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยของบุคคลนั้นๆจากสถานการณ์ของคนไทยในปัจจุบันพบว่าโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้นๆพบว่าสถิติคนไทยตายด้วยโรคกลุ่มเมตาบอลิกซินโดรมหรืออ้วนลงพุงได้แก่โรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงโรคหลอดเลือดสมองและโรคเบาหวาน คนปัจจุบันคนไทยมีภาวะอ้วน และอ้วนลงพุงมากขึ้น จากพฤติกรรมบริโภคอาหารรสหวานมันเค็มเพิ่มขึ้นรับประทานผักผลไม้น้อยลงและขาดการออกกำลังกายในปี2559ผลการสำรวจภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนอายุ15ปีขึ้นไปทั่วประเทศของกรมอนามัยพบว่าเพศชายมีรอบเอวเกิน90เซนติเมตรร้อยละ34และเพศหญิงมีรอบเอวเกิน80เซนติเมตรร้อยละ58ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และจากนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีนโยบายบริหารระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอ้วนให้ครอบคลุมสิทธิประกันสังคมเป็นการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี อีกทั้งจากการคัดกรองความเสี่ยงสุขภาพเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง ในปีที่ผ่านพบว่าเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง มีภาวะความเสี่ยงของโรคอ้วนเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนขึ้น บุคลากร และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต มีบุคลากร รวมทั้งหมด 130 คน ส่วนใหญ่มีภาวะอ้วน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรม การรับประธานอาหารที่มีไขมันสูง ดังนั้นคณะผู้จัดทำโครงการจึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพุง หุ่นดี ด้วย 3 อ. ในบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต เพื่อสร้างความตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากโรคอ้วนรวมทั้งส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคอ้วนและการมีสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้าง มีการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารการออกกำลังกายและการจัดการด้านอารมณ์ได้ด้วยตนเอง
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด มีการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารการออกกกำลังกายและการจัดการด้านอารมณ์ได้ด้วยตนเอง ในระดับมากเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ
2 2 เพื่อให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเมาะสมและสามารถควบคุมน้ำหนักตัวลดรอบเอวได้
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดมีการดูแลสุขภาพควบคุมพฤติกรรมสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วม โครงการ
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดมีค่าดัชนีมวลกายลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการการ
3 3 เพื่อให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างมีทักษะที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร การออกกำลังกายและการจัดการด้านอารมณ์
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับมาก
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
9 ส.ค. 60 อบรมความรู้เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 130 35,725.00 30,725.00
รวม 130 35,725.00 1 30,725.00
  1. เขียนโครงการ
  2. แต่งตั้งคณะทำงาน
  3. สำรวจ รวบรวมข้อมูล เจ้าหน้าที่และลูกจ้างที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานทั้งผู้มีภาวะเสี่ยง 5อบรมความรู้เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพรวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในเรื่อง อาหาร การออกกำลังกายและจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม 6 กิจกรรม ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงวัดรอบเอว ก่อนเข้าโครงการ
    7 ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้คำปรึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 8 ประเมินผลความพึงพอใจ 9 สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในเรื่องการดูแลตนเองเพื่อควบคุมน้ำหนักและไขมันในเรื่อง อาหาร การออกกำลังกายและจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม 2 ผู้เข้ารับการอบรมมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมน้ำหนักตัว ไขมันและมีรอบเอวที่เหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 17:34 น.