กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตลาดต้นปริก ตลาดรักษ์สุขภาพปีที่ 2
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 4 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 39,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2563 30 ก.ย. 2563 46,750.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 46,750.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (46,750.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (39,050.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2560 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการตลาดประชารัฐ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคมนาคมกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ บริษัทประชารัฐรักสามัคคีเพื่อสังคมประเทศไทยจำกัดเพื่อพัฒนาพื้นที่ตลาดใหม่ขยายพื้นที่ตลาดเดิมเพิ่มวันทำการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าโดยกระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเป็นหน่วยรับลงทะเบียนผู้ประกอบการภายใต้โครงการตลาดประชารัฐและให้บูรณาการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อดำเนินโครงการให้เป็นไปตามความเรียบร้อยนั้น จังหวัดสงขลาได้บูรณาการตลาดประชารัฐ 7 ประเภทโดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดแต่ละประเภทตามที่สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เข้าร่วมการประชุมกับผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลปริก บุคลากร
และแกนนำผู้ประกอบการร้านค้า เพื่อวางแผนพัฒนากิจกรรมรูปแบบตลาดอาหารปลอดภัยของเทศบาลตำบลปริก เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2560 ณ ห้องประชุมสภาเทศบาล โดยที่ประชุมมีข้อเสนแนะในการหรือฟื้นตลาดสีเขียว โดยมีการแต่งตั้งตัวแทนผู้ประกอบการ รวมทั้งบุคลากรได้เข้าใจแนวทางการทำงานด้านอาหารปลอดภัยและได้ศึกษาดูงานตลาดเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อนำรูปแบบการจัดการตลาดเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาประยุกต์ใช้

ทั้งนี้ เทศบาลตำบลปริก ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาตลาดสีเขียวจึงได้สนับสนุนให้มีการแต่งตั้งภาคประชาชนเป็นคณะกรรมการตลาดต้นปริก เพื่อเพิ่มช่องทางการเลือกบริโภคอาหารปลอดภัยจากผู้ประกอบการในชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียง สร้างการมีส่วนร่วมในดูแลสุขภาพด้ายการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ให้ประชาชนเข้าใจวิถีชีวิต สามารถเดินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน เหลือจากการบริโภคก็นำไปขาย ตลาดต้นปริก Green and Clean Market โดยมีผู้ประกอบการในพื้นที่เขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียง มาวางจำหน่ายในตลาด โดยใช้ถนนธรรมาภิบาลเป็นตลาด และใช้คำว่า “หลาดต้นปริก” เป็นชื่อตลาด เปิดทุกวันอังคารเวลา 13.00-20.00 น.และใช้อาคารสงขลา-ไทรบุรีเป็นอาคารสำนักงานชั่วคราว โดยได้เปิดนำเนินการเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 จนถึงปัจจุบันมีผู้ประกอบการนำสินค้า และผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายจำนวนกว่า 70 ราย ต่อสัปดาห์
มีประชาชนทั้งในพื้นที่ และจากภายนอกมาใช้บริการจับจ่ายซื้อสินค้ากว่า 1,000 คนต่อสัปดาห์ ทั้งนี้จากสถานการณ์สุขภาพของประชาชนใน จังหวัดสงขลา ในปัจจุบัน พบว่ามีประชนในเป็นโรคในกลุ่มโรคที่มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยนั้นมีถึง 47 % มากกว่าการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุอื่น ๆ (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดสงขลา 2562) ไม่ว่าจะเป็น โรคอาหารเป็นพิษ โรคภูมิแพ้อาหาร โรคท้องร่วง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็ง  โดยสารเหตุเกิดจากอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีปรุงแต่งสีสันและรสชาด อาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีจากการเกษตร อาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีจากการเก็บรักษาให้อาหารมีอายุยืนยาว อาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีจากกรรมวิธีการผลิตและบรรจุภัณฑ์ และอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อปรสิตและเชื้อโรคติดต่อต่าง ๆ ดังนั้น ตลาดต้นปริก ซึ่งถือเป็นแหล่งจำหน่ายอาหารเพื่อการบริโภคหลักของประชาชนในพื้นที่ คณะกรรมการตลาดต้นปริกจึงได้มีการจัดให้มีโครงการ “ตลาดต้นปริก ตลาดรักษ์สุขภาพปีที่ 2” ขึ้นเพื่อจัดกระบวนการสร้างเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีจากการรับประทานอาหาร โดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนัก และเพิ่มทางเลือกในการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยจากการปนเปื้อนในรูปแบบต่าง ๆ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บหรือเกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ได้อีกช่องทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 3.1 เพื่อเพิ่มช่องทางการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง 3.๒ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในดูแลสุขภาพด้ายการบริโภคอาหารที่ปลอดสารปนเปื้อนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อลดความเสียงในการเกิดโรคของประชาชน 3.3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ปลอดจากสารปนเปื้อนที่ช่วยให้ประชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น
  • ตลาดต้นปริกมีพื้นที่จำหน่ายอาหารปลอดสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ร้อยละ 100
  • ผู้ประกอบการมีความรู้สามารถผลิตอาหารที่ปลอดสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายได้ร้อยละ 80
  • ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสามารถเลือกซื้ออาหารที่ปลอดสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย  ได้ ร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

4.1 ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินการ 1 ครั้ง 4.2 จัดกระบวนการและอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ 1 ครั้ง 4.3 จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชน ผ่านทางรายการวิทยุ ทุกวันอังคารเป็นระยะเวลา 12
  สัปดาห์ รวม 12 ครั้ง 4.4 ตรวจสาร 5 ประเภท ในอาหาร 3 เดือน/ครั้ง รวม 2 ครั้ง 4.5 ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานเพื่อประเมินผลการดำเนินงาน 4 ครั้ง 4.6 ประชุมถอดบทเรียนจากการดำเนินงานตามโครงการ 1 ครั้ง
4.7 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.เกิดช่องทางการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง 3.๒ เกิดการมีส่วนร่วมในดูแลสุขภาพด้ายการบริโภคอาหารที่ปลอดสารปนเปื้อนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคของประชาชน     3.3 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ปลอดจากสารปนเปื้อนที่ช่วยเสริมสร้างให้ประชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2563 15:16 น.