โครงการผักสวนครัวรั้วกินได้ของโรงเรียนวัดสีหยัง
ชื่อโครงการ | โครงการผักสวนครัวรั้วกินได้ของโรงเรียนวัดสีหยัง |
รหัสโครงการ | 63-L7251-02-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนวัดสีหยัง |
วันที่อนุมัติ | 10 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 8,480.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวพรรณรังษี อินทมะโน |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.631,100.374place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันผักที่นำมาใช้ปรุงอาหารให้กับนักเรียนในโรงเรียนวัดสีหยังเป็นผักที่จัดซื้อจากท้องตลาด ซึ่งผักส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนสารเคมี แม้ว่า แม่ครัวก็จะล้างทำความสะอาดอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถชะล้างสารตกค้างออกได้ทั้งหมด ส่งผลให้นักเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้ เนื่องจากนักเรียนบริโภคพืชผักและผลไม้ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายอาจก่อให้เกิดถาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้ซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาว หากเด็กรับประทานผักมีสารเคมีปนเปื้อน ดังนั้น โรงเรียนวัดสีหยัง จึงได้จัดทำโครงการผักสวนครัวรั้งกินได้ขึ้นภายในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ และโรงเรียนจะเป็นผู้กระตุ้นเตือน สร้่างความตระหนักให้ครัวเรือนเห้นถึงความสำคัญของการบริโภคผักปลอดสารพิษ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียน ได้รับประทานผักปลอดสารพิษจากโครงการ นักเรียนโรงเรียนวัดสีหยัง ทุกคนได้รับประทานผักปลอดสารพิษจากโครงการ |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษและสามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน
|
0.00 | |
3 | เพื่อให้เด็กเล็กมีทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการดำเนินชีวิตวิถีไทย นักเรียนโรงเรียนวัดสีหยัง ร้อยละ 80 มีทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการดำเนินชีวิตวิถีไทย |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ 1. สำรวจพื้นที่การเพาะปลูก 2. กำหนดคณะครูเพื่อกำหนดแนวทาง 3. นำเสนอโครงการเพื่อขอนุมัติงบประมาณ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการผักสวนครัวรั้วกินได้ 2. ประชุมคณะกรรมการเพื่อดำเนินงาน 3. ครูจัดกิจกรรมให้ความรู้ เรื่อง การบริโภคผักปลอดสารพิา เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการบริโภคผักปลอดสารพิษและรับประทานผักเพิ่มขึ้น 4. ปลูกผักสวนครัว/พืชสมุนไพร 4.1 เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ 4.2 เตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูก 4.3 เลือกชนิดผัก เช่น ผักกาดขาว,ผักคะน้า,ผักบุ้ง,มะขือ.พริกชี้ฟ้า,ผักกวางตุ้ง.โหระพา เป็นต้น 4.4 ดำเนินการปลูกผักสวนครัว โดยไม่ใช้สารเคมี 5. ครูจัดแบ่งเวรให้นักเรียนในการช่วยกันดูแล ผักในแปลงปลูก 6. มีการประเมินความพึงพอใจในการทำกิจกรรมจากนักเรียนและกลุ่มผู้ปกครอง
- นักเรียนได้รับประทานผักปลอดสารพิษจากโครงการ
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ และสามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน
- นักเรียนมีทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการดำเนินชีวิตวิถีไทย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 เม.ย. 2563 14:23 น.